เทคนิคการปลูก

10 สิ่งที่สายเขียวมือใหม่มักเข้าใจผิดในการปลูกกัญชา

สายเขียว
การปลูกกัญชาเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยเฉพาะกับสายเขียวในประเทศไทยเพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาปัจจุบันได้เปิดกว้างต่อการปลูกกัญชาอย่างเสรี เพียงแค่ลงทะเบียนการปลูกผ่านทางออนไลน์กับภาครัฐเท่านั้นคุณจะสามารถปลูกได้อย่างถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตามเมื่อการปลูกกัญชาเป็นเรื่องใหม่ทำให้มีนักปลูกมือใหม่หลายคนปลูกอย่างผิดวิธี ในบทความนี้พี่หมีได้รวบรวม 10 สิ่งที่นักปลูกมือใหม่มักเข้าใจผิดในการปลูกมาให้แล้วจะมีอะไรบ้างมาดูกัญเลย
สายเขียว

1. รดน้ำมากเกินไป (Overwatering)

สายเขียวมือใหม่หลายคนเชื่อว่าการดน้ำไม่ให้หน้าวัสดุปลูกแห้งเลยย่อมดีกว่าเสมอ แต่การรดน้ำมากเกินไปทำให้เกิดน้ำขังในบริเวณรากส่งผลให้รากได้รับออกซิเจนน้อยลง เมื่อรากได้รับออกซิเจนน้อยลงจะทำให้เกิดโรครากเน่า (Root rot) และขาดสารอาหาร ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง ควรปล่อยให้ดินหรือวัสดุปลูกแห้งประมาณ 30-40% ก่อนรดน้ำครั้งถัดไปเพื่อป้องกันปัญหาโรครากเน่า

สายเขียว

2. ให้สารอาหารมากเกินไป (Overfeeding Nutrients)

การให้สารอาหารจำนวนมากจะทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไปเพราะกัญชาบางสายพันธุ์ไม่สามารถรับสารอาหารที่มีความเข้มข้นสูงได้ และมักจะแสดงอาการใบไหม้ (Nutrient burn) โดยปลายของใบกัญชาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และแห้งกรอบ นอกจากนี้การให้สารอาหารมากเกินไปยังส่งผลให้เกิดอาการปุ๋ยล็อค (Nutrition lockout) หรือพืชไม่ดูดซึมสารอาหารจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของพืช ควรฟลัชปุ๋ยเดิมที่ค้างอยู่ทิ้งไปแล้วเริ่มให้สารอาหารใหม่อีกครั้ง

สายเขียว

3. ไม่สนใจระดับ pH (Ignoring pH Levels)

นักปลูกมือใหม่หลายคนมักคิดว่าเพียงแค่รดน้ำต้นไม้หรือให้สารอาหารพืชก็เจริญเติบโตซึ่งไม่ใช่เรื่องจริงเพราะการละเลยในการตรวจเช็คค่า pH ก่อนรดน้ำหรือให้สารอาหารจะนำมาสู่ปัญหาอีกมากมายที่จะเกิดขึ้นกับพืชเนื่องจากค่า pH ส่งผลต่อการดูดซึมธาตอาหารต่างๆของพืช หากค่า pH สูงหรือต่ำเกินไปพืชจะเข้าถึงสารอาหารบางชนิดได้น้อยลงส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหาร ควรตรวจเช็คค่า pH ทุกครั้งก่อนรดน้ำหรือให้สารอาหาร ค่า pH ที่เหมาะสมในการปลูกกัญชาอยู่ที่ 5.5-6.5 ขึ้นอยู่กับวัสดุปลูก

สายเขียว

4. ไม่สนใจอุณหภูมิและความชื้น (Ignoring Temperature and Humidity)

กัญชาเป็นพืชที่ไวต่อความผันผวนของอุณหภูมิ และความชื้น อุณหภูมิที่สูงเกินไปสามารถสร้างความเครียดให้กับพืช และส่งผลต่อการผลิตเรซินในขณะที่ความชื้นสูงอาจทำให้เชื้อราเจริญเติบโต หากเชื้อราเจริญเติบโตบนดอกคุณจะไม่สามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้เนื่องจากจะเป็นอันตรายผู้ใช้งาน นอกจากนี้อุณหภูมิยังส่งผลต่อสีของต้นกัญชาอีกด้วย ควรรักษาระดับอุณหภูมิ และความชื้นให้เหมาะสมแต่ละระยะการเจริญเติบโตของพืชดังนี้ ระยะทำใบอุณหภูมิ 21-29°C ความชื้น 40-70% ระยะทำดอกอุณหภูมิ 18-27°C ความชื้น 40-50% ก่อนเก็บเกี่ยว (2 สัปดาห์สุดท้าย) อุณหภูมิ 15-24°C ความชื้น 30-40%

สายเขียว

5. ไม่สนใจการระบายอากาศ (Ignoring Ventilation)

การปลูกกัญชาให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีต้องคำนึงถึงการะระบายอากาศด้วย หากปลูกกัญชาในถาดหรือในเต็นท์ปลูกต้นไม้ที่แน่นเกินไปอาจทำให้อากาศนิ่ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา นอกจากนี้ยังขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนซึ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง การไหลเวียนของอากาศที่เพียงพอช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของพืช

สายเขียว

6. ไม่ย้ายกระถางเมื่อรากเต็ม (Ignoring Transplanting Practices)

ไม่ย้ายกระถางรากยึด ปลูกในกระถางใหญ่เสี่ยงรากเน่า! การปลูกพืชในกระถางจะต้องเริ่มจากกระถางขนาดเล็กเมื่อรากเต็มกระถางจะต้องย้ายไปกระถางขนาดใหญ่ขึ้นยกตัวอย่างเช่น เริ่มต้นจากกระถางสำหรับเพาะต้นกล้าเมื่อรากเต็มย้ายไปกระถางขนาด 1 แกลลอน หลังจากรากเต็มให้ย้ายไปกระถางขนาด 3 แกลลอน และเมื่อรากเต็มอีกครั้งสามารถย้ายไปกระถางขนาด 5 แกลลอน เพื่อให้รากเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง และป้องกันโรคแคระแกร็นที่จะเกิดขึ้นกับพืช อ่านเทคนิคการย้ายกระถางฉบับเต็มได้ที่นี่

สายเขียว

7. ใช้ดินมีองค์ประกอบที่ไม่เหมาะสม (Improper Soil Composition)

ต้นกัญชาเจริญเติบโตได้ดีในดินที่สามารถระบายน้ำที่ดี และมีอากาศถ่ายเทที่ดี การใช้ดินที่อุ้มน้ำได้มากเกินไปหรือใช้ดินที่แน่นเกินไปจนทำให้อากาศถ่ายเทได้ยากจะส่งผลห้รากได้รับออกซิเจนน้อย เมื่อรากได้รับออกซิเจนน้อยการดูดซึมสารอาหารจะเป็นปัญหา และอาจนำไปสู่ปัญหาปุ๋ยล็อค (Nutrition lockout) ควรใช้ดินที่มีคุณสมบัติร่วนซุย ระบายน้ำ และอากาศได้ดีเช่น พีทมอส เพอร์ไลท์ หรือใช้ร็อควูลแทนวัสดุปลูก

สายเขียว

8. ไม่สนใจคุณภาพน้ำ (Ignoring Water Quality)

คุณภาพน้ำส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร และสุขภาพโดยรวมของพืชเช่น ระดับคลอรีนในน้ำประปาที่สูงเกินไปจะเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน การใช้น้ำกรอง (RO) หรือน้ำที่ปราศจากคลอรีนจะช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ให้แข็งแรง และป้องกันความไม่สมดุลของสารอาหารที่อาจเกิดขึ้น

สายเขียว

9. ไม่ตรวจเช็คน้ำที่ไหลจากก้นกระถาง (Not Monitoring Runoff)

การตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และค่าการนำไฟฟ้าหรือค่าความเข้มข้นของปุ๋ย (EC) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจสอบสุขภาพของพืชเพื่อป้องกันปัญหาความไม่สมดุลของสารอาหาร การให้สารอาหารมากเกินไป และการสะสมของเกลือในวัสดุปลูก อีกทั้งนักปลูกยังสามารถการนำค่า Run-Off มาวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนโปรแกรมการให้สารอาหารเพื่อให้พืชสร้างผลผลิตคุณภาพดีที่สุด

สายเขียว

10. ไม่ระวังแสงรั่วระหว่างช่วงทำดอก (Ignoring Light Leaks during Flowering)

ต้นกัญชาต้องการความมืดสนิทในช่วงกลางคืนของระยะทำดอก หากพืชได้รับแสงเพียงเล็กน้อยในระยะนี้จะส่งผลต่อการพัฒนาของดอก และทำให้ต้นเครียดอาจนำไปสู่สภาวะกระเทยเทียม ต้นตัวเมียจะงอกติ่งที่มีลักษณะคล้ายกับเกศรตัวผู้บนดอกทำให้ดอกเกิดการผสมพันธุ์เทียมและสร้างเมล็ดขึ้นมา นอกจากนี้แสงในช่วงกลางคืนยังทำให้พืชย้อนกลับไปสู่ระยะทำใบ (Re-Veg) ได้อีกด้วย ดังนั้นควรปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่กลางคืนมืดสนิทเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

สรุป

10 สิ่งที่มือใหม่มักเข้าใจผิดในการปลูกกัญชามีดังนี้ 1. รดน้ำมากเกินไป 2. ให้สารอาหารมากเกินไป 3. ไม่สนใจระดับ pH 4. ไม่สนใจอุณหภูมิและความชื้น 5. ไม่สนใจการระบายอากาศ 6. ไม่ย้ายกระถางเมื่อรากเต็ม 7. ใช้ดินมีองค์ประกอบที่ไม่เหมาะสม 8. ไม่สนใจคุณภาพน้ำ 9. ไม่ตรวจเช็คน้ำที่ไหลจากก้นกระถาง 10. ไม่ระวังแสงรั่วระหว่างการออกดอก หลายๆข้อที่กล่าวมายังมีนักปลูกมือใหม่หลายคนกำลังทำอยู่เพราะเชื่อว่าทำแล้วจะทำให้พืชมีสุขภาพดีขึ้นเช่น รดน้ำมากเกินไป หรือ ให้สารอารหารมากเกินไป แท้จริงแล้วการกระทำลักษณะนี้จะทำให้พืชสุขภาพแย่ลง ดังนั้นควรศึกษาการปลูกพืชทุกชนิดก่อนจะลงมือทำเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีที่สุด เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความนี้ถ้าชอบอย่าลืมกดไลก์ แชร์ข้อมูลให้เพื่อนๆ และคอมเมนท์ด้วยนะครับ ไว้เจอกัญใหม่ในบทความหน้าครับ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ GrowStuff ไฟปลูกต้นไม้ ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตร
หรือบทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ รวมบทความ Growstuff

Jive420 Avatar

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *