กัญชาน่ารู้, เทคนิคการปลูก

สารอาหารกัญชามีอะไรบ้าง สารอาหารหลัก สารอาหารรองที่พืชต้องการ

สารอาหารกัญชา
สารอาหารกัญชาคือสารอาหารที่ต้นกัญชาต้องการเพื่อการเจริญเติบโต เอาตัวรอด ออกดอก และขยายพันธุ์เปรียบเสมือนมนุษย์ที่ต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็น วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน น้ำ และคาร์โบไฮเดรต ต้นกัญชาต้องการสารอาหารที่หลากหลายโดยอาศัยความสมดุลที่ดีของแร่ธาตุและองค์ประกอบต่างๆ เพื่อเติมเต็มศัพยภาพของพืชตลอดวงจรการเจริญเติบโต สารอาหารเหล่านี้ประกอบด้วยสารอาหารหลักและสารอาหารรองจะมีสารอาหารอะไรบ้างมาดูกัญเลย!

สารอาหารหลักและสารอาหารรอง (Macronutrients And Micronutrients)

สารอาหารกัญชา

กัญชาต้องการสารอาหารหลักในปริมาณมากเช่นเดียวกับโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เป็นรากฐานสำคัญของสารอาหารของมนุษย์ พืชต้องการไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ในปริมาณสูง ความต้องการสารอาหารกัญชาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามระยะการเจริญเติบโต ในระยะที่พืชผลิตใบหรือทำใบ พืชต้องการสารอาหารไนโตรเจน (N) ในปริมาณที่มากกว่า ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ในระยะที่พืชสร้างดอกหรือทำดอก พืชต้องการสารอาหารฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) มากกว่าไนโตรเจน (N) N P K เป็นธาตุสารอาหารหลักที่สำคัญในดิน อย่างไรก็ตามพืชได้รับธาตุอาหารหลักอีก 3 ชนิดผ่านทางอากาศและน้ำได้แก่ คาร์บอน (CO2) ไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O₂)

นอกจากนี้ต้นกัญชายังต้องการสารอาหารรองอีกหลายชนิดเพื่อให้พืชมีสุขภาพดีและสร้างผลผลิตได้มากขึ้น โดยทั่วไปต้นกัญชาจะต้องการสารอาหารรองในปริมาณน้อยกว่าสารอาหารหลักมาก แต่ถ้าขาดสารอาหารรองบางอย่างไปจะทำให้ต้นกัญชาอาจเกิดปัญหาได้ซึ่งคล้ายกับความต้องการวิตามินของมนุษย์ที่ไม่ต้องการในปริมาณสูง แต่ถ้าขาดไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ อีกทั้งยังมีสารอาหารรองบางชนิดที่พืชกัญชาไม่ต้องการเพื่อการเจริญเติบโตแต่กลับมีประโยชน์ต่อต้นกัญชาอย่างมากเช่น ซิลิก้า (Silica) ช่วยให้ต้นกัญชาเจริบเติบโตอย่างแข็งแรง ป้องกันเชื้อโรคจากแมลง เพิ่มภูมิคุ้มกัน ปรับปรุงการดูดซับสารอาหาร เพิ่มการสังเคาะห์ด้วยแสง และเพิ่มผลผลิตแม้ว่าพืชมีสภาพแวดล้อมหรือดินที่มีคุณภาพต่ำก็ตาม

สารอาหารเคลื่อนที่และสารอาหารไม่เคลื่อนที่ (Mobile And Immobile Nutrients)

สารอาหารกัญชา

สารอาหารเคลื่อนที่และสารอาหารไม่เคลื่อนที่คือ สารอาหารบางชนิดสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆของพืชได้และสารอาหารบางชนิดไม่สามารถเคลื่อนที่ไปสู่จุดอื่นๆได้ พืชจะใช้สารอาหารเคลื่อนที่จัดการกับการขาดสารอาหารในใบอ่อนโดยใช้สารอาหารที่เก็บไว้ในใบแก่ในทางกลับกันสารอาหารที่ไม่เคลื่อนที่ยังคงถูกล็อคอยู่กับที่อาการขาดสารอาหารจะปรากฏให้เห็นในการเจริญเติบโตของใบใหม่เนื่องจากขาดการเข้าถึงสารอาหารเหล่านี้ สารอาหารเคลื่อนที่และสารอาหารไม่เคลื่อนที่มีดังต่อไปนี้

สารอาหารเคลื่อนที่

ไนโตรเจน (Nitrogen) l ฟอสฟอรัส (Phosphorous) l โพแทสเซียม (Potassium) l แมกนีเซียม (Magnesium) l คลอรีน (Chlorine) l โมลิบดีนัม (Molybdenum) l นิกเกิล (Nickel)

สารอาหารไม่เคลื่อนที่

แคลเซียม (Calcium) l กำมะถัน (Sulfur) l โบรอน (Boron) l ทองแดง (Copper) l เหล็ก (Iron) l แมงกานีส (Manganese) l สังกะสี (Zinc)

การดูดซับสารอาหารของพืช (How Plants Absorb Nutrients)

สารอาหารกัญชา

สารอาหารกัญชาที่ต้นกัญชาได้รับโดยเฉพาะอินทรียวัตถุ พืชไม่สามารถย่อยสลายและสกัดแร่ธาตุออกมาได้ สิ่งที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้กลายเป็นสารอาหารสำหรับพืชนั่นก็คือ “จุลินทรีย์” ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยสังเคราะห์หรือปุ๋ยเคมีที่เรารู้จักกันสามารถเติมสารอาหารลงในดิน พีทมอส แร่ใยหิน และขุยมะพร้าว ได้โดยตรง ไม่ต้องรอให้จุลินทรีย์ย่อยสลาย พืชสามารถดูดซึมสารอาหารได้ง่ายกว่า ไม่ว่าคุณจะให้ปุ๋ยอินทรียวัตถุออแกนิคหรือให้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ พืชสามารถรับสารอาหารได้ในรูปแบบไอออนเท่านั้น อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเหล่านี้มีประจุบวก (Cations) หรือประจุลบ (Anions) พูดง่ายๆ ก็คือ สารอาหารจะต้องถูกย่อยสลายหรืออยู่ใยรูปแบบบริสุทธิ์เพื่อเข้าสู่ราก

สารอาหารกัญชา

คาร์บอน (Carbon)

พืชรับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศผ่านรูเล็กๆ บนพื้นผิวของใบหรือที่เราเรียกันว่า “ปากใบ” แต่ปากใบไม่ได้เปิดรับคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดเวลา การเปิดและปิดของปากใบเพื่อรับคาร์บอนขึ้นอยู่กับความต้องการคาร์บอนของพืช คาร์บอนไดออกไซด์มีบทบาทสำคัญสำหรับพืช พืชแปลงคาร์บอนให้กลายเป็นพลังงานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและใช้ร่วมกับน้ำเพื่อสังเคราะห์ด้วยแสง

ไฮโดรเจน (Hydrogen)

พืชสร้างไฮโดรเจนจากโมเลกุลของน้ำระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง ไฮโดรเจนทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งสำหรับการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้ไฮโดรเจนไอออนเพื่อขับเคลื่อนห่วงโซ่การขนส่งอิเล็กตรอนในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง

ออกซิเจน (Oxygen)

พืชได้รับออกซิเจนจาก 2 ส่วน ส่วนแรกพืชได้รับออซิเจนโดยการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านทางใบ ส่วนที่สองพืชได้รับออซิเจนผ่านการหายใจเข้าทางรากเนื่องจากบริเวณรากไม่มีแสงเข้าถึงและไม่เกิดการสังเคาระห์ด้วยแสง พืชต้องการออกซิเจนในระหว่างกระบวนการหายใจเพื่อช่วยในการปล่อยพลังงานกลูโคสที่สะสมไว้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง

สารอาหารกัญชา

ไนโตรเจน (Nitrogen)

พืชต้องการไนโตรเจนมากกว่าสารอาหารอื่นๆ ตลอดวงจรการเจริญเติบโต 98% ของไนโตรเจนในดินมีอยู่ในรูปแบบอินทรีย์วัตถุซึ่งต้องให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเสียก่อนเพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไนโตรเจนได้ ไนโตรเจนยังเป็นส่วนสำคัญของโมเลกุลคลอโรฟิลล์ที่ช่วยการสังเคราะห์ด้วยแสง รวมถึงทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน

ฟอสฟอรัส (Phosphorus)

ฟอสฟอรัสมีบทบาทในการถ่ายโอนพลังงาน การสังเคราะห์ด้วยแสง และการเปลี่ยนแปลงของแป้งและน้ำตาล ฟอสฟอรัสช่วยเคลื่อนย้ายสารอาหารรอบๆพืช รวมถึงช่วยในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังรุ่นต่อๆไป นอกจากนี้ฟอสฟอรัสช่วยในการพัฒนาราก เพิ่มความทนทานของลำต้น ต้านทานโรค และเพิ่มผลผลิต

โพแทสเซียม (Potassium)

โพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของพืชโดยการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มความทนทานต่อความเครียด เร่งการเจริญเติบโตของราก และพัฒนาโครงสร้างระบบราก โพแทสเซียมยังมีบทบาทสำคัญในการกักเก็บน้ำเนื่องจาก พืชสูญเสียน้ำทุกครั้งที่รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านทางปากใบดังนั้นจึงใช้โพแทสเซียมเพื่อปิดปากใบและกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด

สารอาหารหลักรองลงมา (Secondary Macronutrients)

สารอาหารกัญชา

แคลเซียม (Calcium)

พืชต้องการแคลเซียมเพื่อความสมบูรณ์ของโครงสร้าง แคลเซียมจะยึดผนังเซลล์ และเยื่อหุ้มพืชไว้ด้วยกัน องค์ประกอบนี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารภายในเซลล์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมน และเอนไซม์

แมกนีเซียม (Magnesium)

แมกนีเซียมเป็นหัวใจของโมเลกุลคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นพลังที่อยู่เบื้องหลังการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้พืชต้องการแมกนีเซียมในการแบ่งเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีน เมแทบอลิซึมของฟอสเฟต และการกระตุ้นเอนไซม์

กำมะถัน (Sulfur)

กำมะถันมีหน้าที่ในการสร้างเอนไซม์ที่สำคัญ อีกทั้งยังช่วยสร้างโปรตีนพืช วิตามิน และกรดอะมิโน

สารอาหารรอง (Micronutrients)

สารอาหารกัญชา

โบรอน (Boron)

โบรอนช่วยเสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์ มีบทบาทในเชิงโครงสร้างที่สำคัญในการเชื่อมโยงโมเลกุลคาร์โบไฮเดรตขนาดใหญ่ที่ประกอบเป็นผนังเซลล์ หากพืชของคุณขาดโบรอน โครงสร้างอาจถูกทำลายได้

ทองแดง (Copper)

ทองแดงเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ซับซ้อน รวมถึงช่วยให้พืชเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนได้ดีขึ้น

เหล็ก (Iron)

ธาตุเหล็กช่วยให้พืชรักษาโครงสร้าง และการทำงานของคลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ (Organelles) ที่แปลงพลังงานแสงให้เป็นน้ำตาลที่เซลล์พืชสามารถใช้ได้ นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในเอนไซม์และเม็ดสี หลายชนิด

แมงกานีส (Manganese)

แมงกานีสมีส่วนช่วยในการดูดซึมไนโตรเจน การหายใจ และการสังเคราะห์ด้วยแสง รวมถึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของท่อละอองเรณู และการงอกของละอองเกสร

โมลิบดีนัม (Molybdenum)

โมลิบดีนัมมีบทบาทสำคัญในเอนไซม์ 2 ตัวที่ช่วยให้พืชสังเคราะห์กรดอะมิโน เอนไซม์ตัวหนึ่งช่วยเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรท์ ในขณะที่อีกเอนไซม์หนึ่งเปลี่ยนไนไตรท์เป็นแอมโมเนีย

สรุป

สารอาหารกัญชาคือสารอาหารที่ต้นกัญชาต้องการเพื่อการเจริญเติบโต การเอาตัวรอด การออกดอก และการขยายพันธุ์ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด 1. สารอาหารหลักที่พืชต้องการในปริมาณมากเป็นพิเศษซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท สารอาหารหลักจากอากาศและน้ำ ได้แก่ คาร์บอน (Carbon) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และออซิเจน (Oxygen) สารอาหารหลักจากดิน ได้แก่ ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และโพแทสเซียม (Potassium) สารอาหารหลักรอง ได้แก่ แคลเซียม (Calcium) แมกนีเซียม (Magnesium) และกำมะถัน (Sulfur) 2. สารอาหารรองเป็นสารที่พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้ ได้แก่ โบรอน (Boron) ทองแดง (Copper) เหล็ก (Iron) แมงกานีส (Manganese) และโมลิบดีนัม (Molybdenum) ธาตุอาหารแต่ละชนิดที่กล่าวไปต่างมีประโยชน์ต่อพืชทั้งสิ้นหากมีตัวใดตัวหนึ่งขาดไปพืชจะแสดงอาการขาดสารชนิดนั้นๆให้เราเห็น เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความนี้หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้น อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์บทความ และคอมเมนท์เรื่องต้องการให้เขียนได้เลย แล้วพบกันใหม่ครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Royal Queen Seeds, Zamnesia

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ GrowStuff ไฟปลูกต้นไม้ ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตร
หรือบทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ รวมบทความ Growstuff

Jive420 Avatar

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *