พืชขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้สำหรับนักปลูกกัญชาทุกคนเพราะต้นกัญชาเป็นพืชที่ต้องการสารอาหารในปริมาณสูงเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานในการสร้างผลผลิตที่ดีที่สุด ปัญหานี้เกิดขึ้นได้ง่ายกับนักปลูกกัญชาออแกนิคเพราะไม่สามารถควบคุมสารอาหารพืชได้เช่นเดียวกับนักปลูกกัญชาที่ใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อต้นกัญชาขาดสารอาหารมันจะแสดงอาการต่างๆออกมาไม่ว่าจะเป็น การเหี่ยวเฉา การเปลี่ยนสี และใบม้วนงอ เพื่อป้องกันปัญหาปุ๋ยขาดพี่หมีได้รวบรวมวิธีป้องกันและวิธีการแก้ไขการขาดสารอาหารชนิดต่างๆมาให้แล้ว มาเริ่มกัญเลย!
ไนโตรเจน (Nitrogen)
ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นสารอาหารหลักที่เคลื่อนที่ได้ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงและการสร้างโปรตีน หากพืชขาดสารอาหารไนโตรเจนจะส่งผลให้ใบแก่เป็นสีเหลืองและลุกลามไปทั่วทั้งต้นหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ใบจะค่อยๆซีดและร่วงหล่นในที่สุด
วิธีป้องกัน
- รักษาค่า pH ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม 5.5-6.5
- ผสมวัสดุปลูกให้มีสารอาหารสูง
- ทำปุ๋ยหมักทิ้งไว้เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสารอาหารเพียงพอในอนาคต
- เพิ่มไมคอร์ไรซาลงในดินเพื่อเพิ่มระดับไนโตรเจน
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
- ให้ปุ๋ยซิลิก้า (Silica) เพื่อปรับปรุงการดูดซึมไนโตรเจนได้ดีขึ้น
วิธีแก้ปัญหา
- สำหรับการปลูกอินทรีย์ให้เพิ่ม ปลาป่น ปุ๋ยคอก อัลฟัลฟา หรือขนไก่ป่น
- ปรับค่า pH ในวัสดุปลูกให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
- ใช้ปุ๋ยหมักรูปแบบสเปรย์ทางใบเพื่อให้ได้สารละลายที่ออกฤทธิ์เร็ว
- ให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่าเช่น 3-1-2 NPK หรือใช้ CoreX และ Eldex ระยะทำใบ แล้วติดตามการตอบสนองของต้นไม้และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น
ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นสารอาหารหลักที่เคลื่อนที่ได้ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์โปรตีน และเป็นองค์ประกอบสำคัญของ DNA นอกจากนี้ฟอสฟอรัสช่วยในการพัฒนาราก เพิ่มความทนทานของลำต้น ต้านทานโรค และเพิ่มผลผลิต หากพืชขาดสารอาหารฟอสฟอรัสจะส่งผลให้ลำต้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีแดง เจริญเติบโตช้า มีจุดสีน้ำตาลบนใบ ใบแห้ง และการออกดอกลดลง
วิธีป้องกัน
- ใช้ดินที่มีส่วนผสมอินทรียวัตถุสูง
- ใช้ดินปลูกที่มีอากาศถ่ายเถได้สะดวก
- เพิ่มไมคอร์ไรซาในดินเพื่อปรับปรุงการดูดซึมฟอสฟอรัส
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- ใส่มูลไส้เดือนและปลาป่นลงในดิน
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีฟอสเฟตสูง
- รดน้ำเมื่อดินชั้นบนแห้งแล้วประมาณ 3 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้ดินแน่นจนเกินไป
- ห้องปลูกจะต้องมีอุณหภูมิมากกว่า 15°C หากต่ำกว่าพืชจะดูดซึมฟอสฟอรัสได้น้อยลง
- ให้ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนฟอสฟอรัสสูงกว่า เช่น สูตร 1-3-2 NPK หรือใช้ CoreX และ FloreX ระยะทำดอก แล้วติดตามการตอบสนองของต้นไม้และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น
โพแทสเซียม (Potassium)
โพแทสเซียม (Potassium) เป็นสารอาหารหลักที่เคลื่อนที่ได้ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการดูดซึม CO₂ และการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้โพแทสเซียมยังช่วยเพิ่มความทนทานต่อความเครียด เร่งการเจริญเติบโตของราก พัฒนาโครงสร้างระบบราก และการกักเก็บน้ำ หากพืชขาดสารอาหารโพแทสเซียมจะส่งผลให้ปลายและขอบใบมีสีน้ำตาลหรือสีเหลือง ใบม้วนงอ และยืดออก จุดที่แสดงอาการเหล่านี้จะเป็นจุดที่เปราะบางและขาดได้ง่าย
วิธีป้องกัน
- ระมัดระวังการให้ปุ๋ยบ่อยเกินไปจะทำให้เกิดเกลือสะสมและขัดขวางการดูดซึมโพแทสเซียม
- เสริมปุ๋ยหมักด้วยขี้เถ้าไม้เนื้อแข็งและสาหร่ายทะเลป่น
- อย่ารดน้ำมากเกินไป
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีโพแทสเซียมเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- ฟลัชวัสดุปลูก
- วัดและปรับระดับค่า pH เพื่อแก้ไขปัญหาปุ๋ยล็อคที่อาจเกิดขึ้น
- เพิ่มมูลขี้ไก่ลงในดิน
- ให้ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนโพแทสเซียมสูงกว่า เช่น สูตร 2-1-3 NPK หรือใช้ CoreX และ FloreX ระยะทำดอก แล้วติดตามการตอบสนองของต้นไม้และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น
แคลเซียม (Calcium)
แคลเซียม (Calcium) เป็นสารอาหารรองไม่เคลื่อนที่มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของพืชโดยช่วยยึดผนังเซลล์ของพืชไว้ด้วยกัน องค์ประกอบนี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารภายในเซลล์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมน และเอนไซม์ หากพืชขาดสารอาหารแคลเซียมจะส่งผลให้ปลายใบและขอบใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและม้วนงอ การเจริญเติบโตแคระแกรน และลำต้นอ่อนแอ
วิธีป้องกัน
- เพิ่มปูนโดโลไมท์ลงในดินปลูก
- รักษค่า pH ที่ 6.2 ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับดูดซึมแคลเซียม
- เพิ่มเปลือกไข่จำนวนมากลงในปุ๋ยหมัก
- ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีแคลเซียมที่เพียงพอเช่น CoreX มีแคลเซียมสูง 17%
วิธีแก้ปัญหา
- ใช้สารอาหารเสริม Cal-Mag
- เพิ่มหรือลดระดับค่า pH ให้เหลือ 6.2
- ใส่ปูนขาว (Calcium hydroxide) 1 ช้อนชาต่อน้ำ 4 ลิตรแล้วรดต้นไม้
กำมะถัน (Sulfur)
กำมะถัน (Sulfur) เป็นสารอาหารรองไม่เคลื่อนที่มีส่วนช่วยในการสร้างเอนไซม์ โปรตีน วิตามิน และกรดอะมิโนที่สำคัญ การขาดกำมะถันจะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก ใบเหลือง และดอกจะเจริญเติบโตช้า
วิธีป้องกัน
- เพิ่มไมคอร์ไรซาลงในดิน
- ไม่ไถพรวนดิน (No Till Farming)
- ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีกำมะถันเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- เติมดีเกลือฝรั่ง (Epsom Salt) 1-2 ช้อนชาลงในน้ำประมาณ 4 ลิตร แล้วให้จนกว่าอาการของต้นไม้จะหาย
- ปรับค่า pH ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีกำมะถันเพียงพอเพื่อแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
แมกนีเซียม (Magnesium)
แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นสารอาหารรองไม่เคลื่อนที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงอย่างมาก แร่ธาตุนี้เป็นหัวใจของโมเลกุลคลอโรฟิลล์และช่วยการดูดซับแสง การขาดแมกนีเซียมจะส่งผลให้การเจริญเติบโตลดลง ใบไม้จะกลายเป็นสีเหลือง แห้ง มีสีน้ำตาลโดยเริ่มจากใบล่างและเลื่อนขึ้นด้านบน
วิธีป้องกัน
- เพิ่มปูนโดโลไมท์ลงในดินปลูก
- เพิ่มมูลสัตว์ลงไปในปุ๋ยหมัก
- รักษาความสมดุลของค่า pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ใช้ปุ๋ยเคมีที่ส่วนผสมของแมกนีเซียมเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- เติมดีเกลือฝรั่ง (Epsom Salt) 1-2 ช้อนชาลงในน้ำประมาณ 4 ลิตร แล้วให้จนกว่าอาการของต้นไม้จะหาย
- ปรับค่า pH ให้อยู่ในช่วง 5.5-6.5 หากค่า pH ไม่สมดุล
- ให้ปุ๋ยเคมีเสริม Cal-Mag เพื่อแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
เหล็ก (Iron)
เหล็ก (Iron) เป็นสารอาหารรองไม่เคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างคลอโรฟิลล์ องค์ประกอบนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์หลายชนิดและเม็ดสีที่สำคัญบางชนิดอีกด้วย นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญและสร้างพลังงาน การขาดธาตุเหล็กจะส่งผลให้ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ (Interveinal Chlorosis) ซึ่งอาจลุกลามไปทั่วทั้งต้นหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
วิธีป้องกัน
- เติมไมคอร์ไรซาลงในดินช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
- ตรวจสอบค่า pH สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาปุ๋ยล็อค
- เพิ่มมูลไก่ เศษอาหาร และสาหร่ายทะเลลงไปในปุ๋ยหมัก
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุเหล็กเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- รักษาค่า pH ให้อยู่ในระดับ 6.0 – 6.5
- ฟลัชวัสดุปลูกแล้วเติมธาตุเหล็กในภายหลัง
- เสริมสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ธาตุเหล็กคีเลต
แมงกานีส (Manganese)
แมงกานีส (Manganese) เป็นสารอาหารรองไม่เคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญในสรีรวิทยาของกัญชา การสังเคราะห์แสง การหายใจ การดูดซึมไนโตรเจน และการยืดตัวของเซลล์ราก และปกป้องรากจากจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูพืช การขาดแมงกานีสจะส่งผลให้ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ (Interveinal Chlorosis) และกลายเป็นสีน้ำตาลหากไม่ได้รับการรักษา
วิธีป้องกัน
- ค่า pH ที่ไม่สมดุลมักเป็นสาเหตุของการขาดแมงกานีส วัดค่า pH ของดินบ่อยๆ และรักษาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
- ทำปุ๋ยหมักที่มีแมงกานีสสูงโดยใส่สับปะรด มะเขือเทศ แครนเบอร์รี่ และแครอทลงไป
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีแมงกานีสเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- ฟลัชวัสดุปลูก
- ตัดใบที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้วออก
- ใช้อาหารเสริมสาหร่ายทะเลในการฉีดพ่นทางใบ
- รักษาค่า pH 6.0-6.5
- เสริมสารอาหารที่มีแมงกานีสสูง
โบรอน (Boron)
โบรอน (Boron) เป็นสารอาหารรองไม่เคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์โดยทำงานร่วมกับแคลเซียมเพื่อให้ผนังเซลล์พืชสมบูรณ์ และช่วยในกระบวนการผสมเกสร การขาดโบรอนจะส่งผลให้พืชขาดฮอร์โมน ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง เนื้อเยื่อเติบโตผิดปกติ ใบม้วนงอ และใบใหม่มีสีน้ำตาลอมเหลือง
วิธีป้องกัน
- อย่าปล่อยให้ดินแห้งบ่อยๆ
- ระมัดระวังปัญหาปุ๋ยล็อค
- อย่าปล่อยให้ความชื้นต่ำกว่า 25%
- ใส่แอปเปิ้ล กล้วย และบร็อคโคลี่ลงในปุ๋ยหมัก
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีโบรอนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- รักษาค่า pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ผสมกรดบอริก (Boric Acid) หนึ่งช้อนชาต่อน้ำ 4 ลิตรแล้วนำไปรดต้นไม้
- เสริมสารอาหารที่มีโบรอนสูง
โมลิบดีนัม (Molybdenum)
โมลิบดีนัม (Molybdenum) เป็นสารอาหารเคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างเอนไซม์สำคัญสองชนิดที่เปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรต์แล้วเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย การขาดโมลิบดีนัมจะส่งผลให้ใบม้วนงอ ใบเหลืองและมีรอยจุดระหว่างเส้นใบหรือใบเปลี่ยนสีเป็นสีแดงหรือสีชมพูซีด
วิธีป้องกัน
- รักษาระดับ pH ไว้ระหว่าง 6.0–6.5
- ผสมดินปลูกที่มีสารอาหารครบถ้วน
- เพิ่มถั่วลันเตา ธัญพืช และถั่วดิบลงในปุ๋ยหมัก
- ให้ปุ๋ยเคมีที่มีโมลิบดีนัมเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- ฟลัชและปรับค่า pH
- ฉีดพ่นสารอาหารสาหร่ายทะเลผ่านการสเปรย์ทางใบ
- เสริมสารอาหารที่มีโมลิบดีนัมสูง
สังกะสี (Zinc)
สังกะสี (Zinc) เป็นสารอาหารไม่เคลื่อนที่และเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงฮอร์โมนการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังควบคุมการทำงานของเอนไซม์ซึ่งทำให้ DNA และ RNA มีความเสถียร การขาดสังกะสีจะส่งผลให้ต้นแคระ ระยะห่างระหว่างโหนดลดลง ใบจะมีลักษณะเหี่ยวย่นและเป็นสีเหลือง ปลายใบของใบใหม่จะมีสีเหลืองหรือสีสนิม
วิธีป้องกัน
- รักษาค่า pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ค่า pH ที่ด่างเกินไปจะทำให้เกิดการขาดสังกะสี
- เพิ่มเศษฝักทองลงในปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มสังกะสี
- เพิ่มเชื้อราที่เป็นประโยชน์ให้กับดินปลูกเพื่อการดูดซึมสังกะสีที่ดีขึ้น
- ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสังกะสีเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
วิธีแก้ปัญหา
- ลดค่า pH ที่เป็นด่างให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
- รดน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
- สเปรย์ทางใบด้วยสาหร่ายทะเลเพื่อเพิ่มปริมาณสังกะสี
- เสริมสารอาหารที่มีสังกะสีสูง
สรุป
พืชขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปเนื่องจากพืชต้องการสารอาหารชนิดต่างๆในปริมาณที่แตกต่างกันแต่ละช่วงอายุของพืช การขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งต้นไม้จะแสดงอาการผิดปกติบางอย่างออกมา อาการผิดปกติที่ต้นไม้แสดงออกมานั้น เพื่อนๆสามารถนำมาตรวจสอบกับข้อมูลอาการการขาดสารอาหารชนิดต่างๆที่พี่หมีได้กล่าวไว้ เพื่อให้เพื่อนๆสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพืชได้ทันท่วงที เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความนี้หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้น อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์บทความ และคอมเมนท์เรื่องต้องการให้เขียนได้เลย แล้วพบกันใหม่ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
Royalqueenseeds & 2fast4buds
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ GrowStuff ไฟปลูกต้นไม้ ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตร
หรือบทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ รวมบทความ Growstuff
#สารอาหารกัญชา #สารอาหารกัญชา #สารอาหารกัญชา