กัญชาน่ารู้

กัญชา ลักษณะเป็นอย่างไรและชื่อเรียกส่วนต่างๆของต้นกัญชา (Cannabis Anatomy)

กัญชา ลักษณะ
เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมครับว่าต้นกัญชา ลักษณะเป็นอย่างไร มีส่วนต่างๆอะไรบ้าง แต่ละส่วนของต้นกัญชาเรียกว่าอะไร เรื่องนี้ไม่ใช่แค่มือใหม่เท่านั้นที่ยังไม่รู้ แม้กระทั่งสายเขียวหรือนักปลูกหลายๆคนเองก็ไม่รู้จักทุกส่วนของต้นกัญชารวมถึงประโยชน์ของส่วนๆต่างๆที่มีต่อต้นกัญชา ในบทความนี้พี่หมีจะอธิบายเกี่ยวกับส่วนต่างๆของต้นกัญชาเพื่อให้เพื่อนๆได้รู้จักกัญชามากยิ่งขึ้น มาเริ่มกัญเลยครับ
กัญชา ลักษณะ

ต้นกัญชา มีลักษณะเป็นอย่างไร

ต้นกัญชา ลักษณะโครงสร้างมีหลากหลายแบบซึ่งหลายๆแบบสามารถพบได้ในไม้ดอกทั่วไป มี 2 เพศ เพศผู้และเพศเมีย ลำต้นของกัญชาจะมีลักษณะเรียวยาวและมีใบเลี้ยง 5-7 แฉกเฉพาะตัวซึ่งทำให้เราสามารถแยกต้นกัญชากับต้นไม้อื่นๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้ หากต้นกัญชาเจริญเติบโตตามธรรมชาติโดยไม่ได้ไปดัดกิ่งหรือทำ LST จะมีลักษณะคล้ายกับ “ต้นคริสต์มาส”เนื่องจากการยอดหลักของต้นตัวเมียจะพัฒนาเป็นโคล่า (Cola) ขนาดใหญ่และจะมีกิ่งขนาดเล็กรองลงมาเรื่อยๆ อีกหลายกิ่ง

สิ่งที่โดดเด่นของต้นกัญชาไม่ได้มีเพียงแค่ใบ 5-7 แฉกเท่านั้นแต่ยังมีดอกที่ก่อตัวกันอย่างซับซ้อน มีใบขนาดเล็กขึ้นแทรกทั่วทั้งดอก มีสีสันที่แตกต่างออกไปในแต่ละสายพันธุ์ มีขนสีน้ำตาลที่แปลกตา ดอกมีลักษณะอวบและใหญ่ มีกลิ่นที่น่าดึงดูด และมีจุดขาวๆเล็กๆคล้ายน้ำตาลทั่วทั้งดอก ทำให้ดอกกัญชามีหน้าตาที่แปลกประหลาดและสวยงามไปพร้อมๆกัน

กัญชา ลักษณะ

วงจรชีวิตของต้นกัญชา

วงจรของต้นกัญชามี 4 ระยะ ดังนี้

  1. งอกจากเมล็ด: งอกจากเมล็ดและโผล่พ้นดินใช้เวลา 3-10 วัน
  2. ต้นกล้า/ต้นอ่อน: ระยะต้นอ่อนจะเริ่มนับเมื่อต้นพัฒนาใบเลี้ยงคู่แรกใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
  3. ช่วงเจริญเติบโต (ทำใบ): เป็นช่วงที่ต้นกัญชากำลังเจริญเติบโตโดยจะมีลำต้น กิ่งก้านที่ใหญ่ขึ้น และใบที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้พร้อมต่อการออกดอกใช้เวลา 3-16 สัปดาห์
  4. ช่วงออกดอกต้นตัวเมีย (ทำดอก): เป็นช่วงที่ต้นกัญชากำลังสร้างดอกโดยเริ่มจากช่อดอกขนาดเล็กจนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆใช้เวลา 8-11 สัปดาห์

ส่วนต่างๆของต้นกัญชา

กัญชา ลักษณะ

เมล็ดกัญชา (Cannabis Seeds)

เมล็ดพันธุ์กัญชาถูกผลิตขึ้นจากต้นเพศเมียหลังจากการผสมพันธุ์ โดยมีพันธุกรรมจากต้นตัวผู้และต้นตัวเมียไปด้วย หลังจากนั้นไม่นานเมล็ดจะงอกรากแก้วขึ้นมาซึ่งจะกลายเป็นรากหลักที่ใช้สำหรับดูดซับสารอาหารและพยุงลำต้น

ใบเลี้ยงคู่แรก (Cotyledon Leaves)

ใบเลี้ยงคู่แรกคือใบเลี้ยงที่อยู่ในเมล็ดเราจะเห็นมันได้เมื่อต้นกัญชางอกสำเร็จซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีแก่นักปลูกสำหรับการเพาะเมล็ด

รากต้นกัญชา (Cannabis Roots)

ต้นกัญชาที่เติบโตจากเมล็ด รากของต้นจะงอกจากก้านหลักลงไปสู่ดิน รากหลักของต้นคือรากแก้วทำหน้าที่ดึงน้ำ สารอาหาร และออกซิเจนเข้าสู่ต้นกัญชาช่วยให้ต้นกัญชาเจริญเติบโตได้ดี โพแทสเซียมฮิวเมต (Humic) และกรดฟุลวิค (Fulvic Acid) จาก KING Terra สารธรรมชาติที่ทรงพลังเมื่อทำงานร่วมกันจะช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และส่งเสริมการพัฒนาของราก

กัญชา ลักษณะ

กิ่งหลักของต้น (Marijuana Plant Stem)

ก้านหลักหรือลำต้นของต้นกัญชาเจริญเติบโตจากรากแก้วโดยตรงหากปลูกผ่านเมล็ด ลำต้นจะสร้างกิ่งก้านออกมาและเจริญเติบโตไปเรื่อยๆในรูปทรงคล้ายกับต้นคริสต์มาสและในช่วงออกดอกจะพัฒนาเป็นช่อดอกหลัก นักปลูกหลายคนใช้วิธี ท็อป (Tops) หรือตัดลำต้นออกเมื่อต้นมีประมาณ 5 โหนด (Nodes) เพื่อให้ต้นงอกกิ่งคู่ใหม่และออกด้านข้างมากขึ้น

กิ่งก้าน (Branches)

กิ่งก้านงอกมาจากกิ่งหลักของต้นหรือลำต้นช่วยรองรับใบเลี้ยงและดอก นักปลูก (Grower) หลายๆคนตัดกิ่งเพื่อให้ต้นแตกตาเพิ่มมากขึ้น

โหนด (Node)

โหนดหรือตากิ่งคือจุดที่กิ่งจะงอกออกมาจากลำต้นหลัก ใบเลี้ยงและดอกสามารถเจริญเติบโตในบางโหนดได้ด้วยแต่จะมีขนาดเล็กและไม่ได้งอกทุกโหนด รวมถึงการแสดงเพศของต้นกัญชาไม่ว่าจะเป็นเพศผู้หรือเพศเมียเราจะเห็นลักษณะที่บ่งชี้ทางเพศได้ที่โหนดของต้น ระยะห่างของโหนดหนึ่งไปอีกโหนดหนึ่งยังเป็นตัวชี้วัดได้ว่าต้นกัญชาจะสูงหรือเตี้ย

ใบเลี้ยง (Fan Leaves)

ใบเลี้ยงหรือใบของต้นกัญชาที่มีลักษณะเฉพาะและมีขนาดใหญ่ทำหน้าที่ดูดซับแสงเพื่อสังเคาะห์ ใบเลี้ยงต้นกัญชาโดยทั่วไปจะมีไตรโครมเล็กน้อกหรือไม่มีเลย สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ผสมเครื่องดื่มหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นักปลูกส่วนใหญ่มักจะพรุนใบหรือตัดใบทิ้งเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้มันบังแสงกิ่งอื่นๆมากเกินไป และจะตัดออกทั้งหมดเมื่อถึงขั้นตอนการทริม

ใบชูก้าร์ (Sugar leaves)

ใบชูการ์คือใบเลี้ยงขนาดเล็กจะงอกในบริเวณดอกของกัญชาโดยที่มีเนื้อดอกกัญชาทับอยู่ ใบชูการ์จะมีไตรโครมหรือเรซินคล้ายๆเม็ดน้ำตาลขนาดเล็กปกคลุมทั่วบริเวณใบ นักปลูกส่วนใหญ่มักจะตัดออกในกระบวนการทริมหรือตัดออกเพียงครึ่งใบ สามารถนำมาใช้ในการทำสารสกัด พันลำ (รสชาติติดเขียวแต่มีสารสำคัญของกัญชา) หรือผลิตภัณฑ์กัญชาอื่นๆได้

ดอกกัญชา (Flowers)

ดอกกัญชาหรือบัด (Buds) เป็นดอกที่เกิดขึ้นโดยต้นกัญชาเพศเมีย บริเวณดอกจะมีไตรโครมปกคลุมทั่วทั้งดอกและมีสารสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็น เทอร์ปีนที่ให้ดอกมีกลิ่น สาร THC CBD และสารสำคัญอื่นๆจะพบได้เยอะเป็นพิเศษในบริเวณนี้ สารดังกล่าวนี้จะทำให้คุณเมารวมถึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพบางประการ การนำดอกมาใช้งานจะต้องผ่านขบวนการตากแห้งและทริมก่อน

โคล่า (Cola)

โคล่าคือจุดที่ช่อดอกรวมตัวกันอย่างหนาแน่น หากปลูกกัญชาตามปกติไม่ได้เทรนต้นหรือตัดกิ่ง ก้านหลักจะสร้างโคล่าขึ้นมาและจะเป็นจุดที่ดอกกัญชาใหญ่ที่สุดในขณะที่ช่อดอกกัญชากิ่งอื่นๆจะเล็กลงมา นักปลูกหลายๆคนใช้วิธีการท็อปยอดหรือตัดกิ่งหลักแล้วทำ LST เพื่อให้ทุกกิ่งกลายเป็นช่อโคล่าและได้รับแสงอย่างทั่วถึง

ใบประดับและกลีบเลี้ยง (Bract And Calyx)

ใบประดับและกลีบเลี้ยงจะเกิดขึ้นที่บริเวณโหนด (Node) และดอก ใบประดับคือใบที่ห่อหุ้มส่วนสืบพันธุ์ของตัวเมียมีลักษณะเป็นทรงหยดน้ำและปกคลุมไปด้วยต่อมเรซินหรือไตรโครมทั่วบริเวณ กลีบเลี้ยงคือส่วนที่โดนใบประดับล้อมเอาไว้ มีลักษณะเป็นชั้นโปร่งแสงไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอยู่เหนือออวุลที่ฐานของดอก

เกสรตัวเมีย (Stigma and Pistil)

เกสรตัวเมียคือขนที่มีสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเกิดขึ้นบริเวณช่อดอกกัญชา ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) ทำหน้าที่จับละอองเรณูเพื่อการผสมพันธุ์และสร้างเมล็ด

ไตรโคม (Trichomes)

ไตรโคมหรือ Trichomes มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดขนาดเล็กปกคลุมทั่วบริเวณดอกกัญชาและใบ Sugar Leaf หรือใบเลี้ยงขนาดเล็กที่จะงอกบริเวณช่อดอก ไตรโครมมีความเหนียว ระยิบระยับ และมีกลิ่นหอมเนื่องจากภายในไตรโคมจะเป็นที่กักเก็บสารสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็น Cannabinoids, Terpenes, และ Flavonoids ซึ่งส่วนนี้เองที่ทำให้กัญชาแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างในด้าน กลิ่น รสชาติ และเอฟเฟค 

สรุป

ต้นกัญชา ลักษณะรูปทรงคล้ายต้นคริสต์มาสมี 2 เพศ เพศผู้และเพศเมีย ต้นกัญชาที่มีลักษณะโดดเด่นจะเป็นต้นกัญชาเพศเมียเพราะเป็นเพศที่ออกดอกและสามารถนำไปใช้งานต่อได้ ต้นกัญชามีวงจรชีวิต 4 ช่วง 1. งอกจากเมล็ด 2. ระยะต้นกล้า 3. ระยะการเจริญเติบโต 4. ระยะการออกดอกของต้นตัวเมีย ส่วนต่างๆของต้นกัญชามีดังนี้ เมล็ดกัญชา, ใบเลี้ยงคู่แรก, รากต้นกัญชา, กิ่งหลักของต้น, กิ่งก้าน, โหนด, ใบเลี้ยง, ใบชูก้าร์, ดอกกัญชา, โคล่า, ใบประดับและกลีบเลี้ยง, เกสรตัวเมีย, และไตรโคม ส่วนต่างๆเหล่านี้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปดังที่กล่าวไว้เพื่อให้ต้นกัญชาเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความนี้ถ้าชอบอย่าลืมกดไลก์ แชร์ข้อมูลให้เพื่อนๆ และคอมเมนท์ด้วยนะครับ ไว้เจอกัญใหม่ในบทความหน้าครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Leafly

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ GrowStuff ไฟปลูกต้นไม้ ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตร
หรือบทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ รวมบทความ Growstuff

Jive420 Avatar

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *