กัญชาน่ารู้, เทคนิคการปลูก

‘สีของดอกกัญชา’ เกิดจากอะไร และจะเร่งให้สดได้ด้วยวิธีใดบ้าง

head ‘สีของดอกกัญชา มาจากไหน มีกี่สี และเป็นตัวบอกความเข้มข้นของกัญชาได้ไหม

ความรู้เบื้องต้นเรื่องสีของดอกกัญชา


สวัสดีเพื่อน ๆ นักปลูกทุกคน วันนี้พี่หมีจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสีของดอกกัญชาซึ่งมีตั้งแต่สีเขียวที่เราพบได้ทั่วไป อาจจะเขียวอ่อน เขียวเข้ม หรือ สีแกมม่วง ดอกม่วง ไล่ไปจนถึงสีแดงเข้มและอีกมากมาย

มีใครรู้บ้างว่าก่อนที่อุตสาหกรรมของเราจะนำการตรวจวัดแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) มาใช้ในการคัดกัญชาสายพันธุ์ต่าง ๆ ก่อนซื้อ ลูกค้าอย่างเรา ๆ ทำได้แค่ดมกลิ่นควบคู่ไปกับการดูที่สีของต้นกัญชาเท่านั้น ซึ่งน่าสนใจว่าสีของต้นมักเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อกัญชาพันธุ์นั้น ๆ ไปปลูก โดยเชื่อว่าสีสันเหล่านี้จะทำให้ “ผลิตภัณฑ์” ขายง่ายขึ้น ซึ่งก็เป็นจริงดังนั้น (แน่นอนว่าเห็นดอกสีสวยๆมันน่าเย้ายวนมากกว่า!)


สีของดอกกัญชามาจากไหน?


สีของดอกกัญชา

ภาพ: Homegrown Cannabis Co

กัญชาบางสายพันธุ์จะมีการเปลี่ยนสีหลังออกดอกซึ่งเป็นผลมาจากพันธุกรรม โดยจะผลิตสารเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) ซึ่งมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาเพื่อเพิ่มสีสันให้กับส่วนต่าง ๆ ของต้นซึ่งมีตั้งแต่สีแดง ม่วง น้ำเงิน โดยจะออกมาเป็นสีใดก็ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดด่างหรือค่า pH ของสภาพแวดล้อมด้วย 

ถ้าสภาพแวดล้อมของต้นกัญชามีความเป็นกรดมากสีแดงก็จะชัด แต่ถ้าหากมีความเป็นด่างมากกว่าสีก็จะออกน้ำเงิน และในหลาย ๆ ครั้งก็จะได้สีออกม่วงซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างสีแดงกับน้ำเงินนั่นเอง


ปรากฏการณ์ใบไม้เปลี่ยนสี  (The Fall Effect)


สีของดอกกัญชา

ภาพ: Travel MThai

พี่หมีอยากให้ทุกคนลองจินตนาการภาพฤดูใบไม้ร่วงก่อนเข้าหน้าหนาว ช่วงนี้เป็นเวลาที่ใบไม้สีเขียวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้ม แดง ปรากฏการณ์ใบไม้เปลี่ยนสีนี้เกิดจากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงเนื่องจากความเย็นจะยับยั้งการผลิตคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสีเขียวที่ช่วยสังเคราะห์แสงในพืชนั่นเอง

สำหรับใครที่ปลูกกัญชาแบบควบคุมสภาพแวดล้อม คุณสามารถเลียนแบบการเกิดของฤดูใบไม้ร่วงได้ง่าย ๆ ด้วยการลดอุณหภูมิและลดเวลาการให้แสงให้สั้นลง(อาจจะเหลือแค่วันละ 10-8ชั่วโมง ก่อนเก็บเกี่ยว) จากนั้นต้นกัญชาจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเขียวไปเป็นสีตามสายพันธุ์ของตัวเอง

แม้ว่าค่า pH ที่เหมาะสมในการปลูกกัญชาจะอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 6.5 แต่นักปลูกสามารถปรับเพิ่มหรือลดค่า pH ได้ในระยะออกดอก ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการทำให้ต้นกัญชามีสีสันอย่างที่ตนเองต้องการ

หมายเหตุ: ต้นกัญชาเกือบทุกสายพันธุ์จะยังไม่ผลิตเม็ดสีจนกว่าจะเข้าช่วงสุดท้ายของการออกดอก เพราะฉะนั้นพี่หมีอยากให้ทุกคนแน่ใจว่าพืชของตัวเองอยู่ในระยะที่พร้อมแล้วเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


กัญชาพันธุ์สีม่วงน้ำเงิน


สีของดอกกัญชา

ภาพ: Green Is White

กัญชาแต่ละสายพันธุ์จะมีระดับแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ลักษณะกลิ่น และเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) หรือสี ที่แตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงของสีที่พบได้มากที่สุดในต้นกัญชาคือการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วง ตัวอย่างคือพันธุ์ Purple Urkle และ Grandaddy Purple 

ต้นกัญชาในสายพันธุ์เหล่านี้สามารถผลิตเม็ดสีได้ง่ายและมีจำนวนมาก ทำให้ผู้ปลูกอาจจะไม่ต้องคอยควบคุมอุณหภูมิเลยด้วยซ้ำเพราะตัวพืชจะหยุดสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของชีวิตทำให้ดอกและใบบางส่วนค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน

อย่างที่พี่หมีได้พูดไว้ข้างบนแล้วว่าต้นกัญชาที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีค่า pH หรือกรด-ด่างที่เป็นกลางจะทำให้ดอกและใบมีสีม่วง ในขณะที่สีน้ำเงินจะต้องอาศัยค่า pH ที่สูงมากกว่าทั่วไป ซึ่งหมายความว่าสภาพแวดล้อมนั้นจะต้องมีความเป็นด่างนั่นเอง


กัญชาพันธุ์สีชมพูแดง


สีของดอกกัญชา

กัญชาสายพันธุ์ “Pink Flower Shaman”

ภาพ: Herb

แม้ว่าทุกวันนี้จะมีต้นกัญชาขนสีแดงออกมาให้เห็นกันบ่อย ๆ แต่ดอกและใบกัญชาที่มีสีแดงนั้นยังถือว่าเป็นของหายาก สาวกกัญชาพันธุ์สีแดงอาจจะต้องหาข้อมูลกันหนักสักหน่อยเพื่อหาสายพันธุ์กัญชาที่มีโทนแดงเป็นลักษณะเด่น เช่น Pink Flower Shaman

กัญชาสายพันธุ์เหล่านี้จะมีโทนสีชมพูหรือบานเย็นปรากฏอยู่ในลักษณะทางพันธุกรรมหรือ

ฟีโนไทป์ (Phenotypes) หมายความว่าเราไม่สามารถพุ่งตัวไปซื้อกัญชาทุกพันธุ์ที่มีคำว่า “ชมพู” หรือ “แดง” อยู่ในชื่อและหวังว่ามันจะออกดอกออกใบเป็นสีที่เราใฝ่ฝัน เพราะหลาย ๆ ครั้งชื่อสีจะหมายถึงขนหรือกลิ่นของพันธุ์นั้น ๆ  

พี่หมีแอบรู้มาว่ามีนักปลูกหัวหมอบางท่านใช้วิธีปรับสารอาหารที่จะทำให้พืชรับฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ ส่งผลให้ใบและดอกของกัญชามีสีแดง ถ้าจะพูดกันตรง ๆ แล้วล่ะก็ ยังไงก็สวยสู้ของจริงไม่ได้อยู่ดี


กัญชาพันธุ์สีเหลืองส้ม


สีของดอกกัญชา

ภาพ: KindPeoples

แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เป็นสารที่สร้างสีเหลือง ทอง และส้มให้กับกัญชาโดยที่สภาพแวดล้อมต้นจะต้องอยู่ในสภาวะเป็นด่าง (ค่า pH มากกว่า 7) ในกรณีที่กัญชาบางสายพันธุ์มีโทนสีเหลืองส้มเป็นลักษณะเด่นอยู่แล้ว สีเหล่านี้ก็จะปรากฏขึ้นเองเมื่อต้นกัญชาออกดอกเสร็จสมบูรณ์และคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ที่เป็นสารสีเขียวค่อย ๆ จางไป

สีส้มจะถูกขับออกมาเด่นชัดผ่านขนและดอกซึ่งจะเห็นได้จากกัญชาพันธุ์ Olive Oyl และ Kandy Skunk เป็นต้น ในขณะที่สีเหลืองจะชัดเจนในพันธุ์ Wicked OG Grapefruit และ Lemon Kush แต่ไม่ว่าจะพันธุ์ไหนก็มีกลิ่นหอมอร่อยเหมือนกันหมด


กัญชาพันธุ์สีดำ


สีของดอกกัญชา

ภาพ: Dark Heart Nursery

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินตำนานกัญชาสีดำแสนหายากกันมาบ้าง กัญชาสีดำเหล่านี้สืบทอดพันธุกรรมมาจากกัญชาพันธุ์พื้นเมืองของเวียดนามที่ได้รับการเรียกขานว่า Vietnamese Black ในขณะที่สายพันธุ์ดำที่เหลืออื่น ๆ เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์จนทำให้มีดอกและใบสีดำ

นอกจากนี้แล้วกัญชาสายพันธุ์ดำยังขึ้นชื่อเรื่องความเมารุนแรงซึ่งสายที่ชอบภาพหลอนไม่ควรพลาดกัญชาสายพันธุ์นี้ สีดำที่เราเห็นอยู่นั้นเป็นผลมาจากการทับถมกันของสีอื่น ๆ ที่อยู่ในใบ ในบางกรณีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจจะเปลี่ยนสีแดงและม่วงเข้มให้กลายเป็นสีแดงและทองที่อ่อนตัดกับใบสีดำของต้นจนดูสวยงาม


วิธีอื่น ๆ ในการเพิ่มสีของดอกกัญชา


นอกจากเราจะสามารถใช้ค่า pH และอุณหภูมิมากระตุ้นการผลิตของสารเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) ในเนื้อเยื่อกัญชาแล้ว ผู้ปลูกยังสามารถใช้ไฟ LED ที่มีสเปกตรัมเฉพาะมาช่วยได้อีกด้วย 

ในขณะที่สารดังกล่าวยังทำหน้าเป็นเหมือน “ครีมกันแดด” ที่ปกป้องต้นกัญชา ทำให้การใช้แสงยูวีฉายลงไปส่งผลให้พืชเครียดและสร้างสารเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สีของต้นกัญชาเข้มขึ้นตามไปด้วย 


สีใช้วัดความเข้มข้นของกัญชาได้จริงหรือ?


สีของดอกกัญชา

ภาพ: Hasan Cengiz

พี่หมีจะขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่าสีไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับความเข้มข้นของกัญชาอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่ก็อย่าลืมว่านอกจากช่วยสร้างสีของพืชแล้ว เอนโธไซยานิน (Anthocyanins) ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระซึ่งดีต่อร่างกายมนุษย์

งานวิจัยชี้ว่าสารเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) บางประเภทจะตอบสนองต่อตัวรับแคนนาบินอยด์ 1 หรือ 2 เพียงตัวเดียวเท่านั้น ทำให้แม้ว่าสารเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) จะไม่ส่งผลต่อความเข้มข้นของแคนนาบินอยด์โดยตรง แต่ก็มีโอกาสส่งผลดีกับสุขภาพของเราได้

พืชชนิดอื่น ๆ ที่มีสารเอนโธไซยานิน (Anthocyanins) อยู่สูงก็ได้แก่พืชตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งมักจะได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน

เป็นไงล่ะทุกคน ใครจะไปคิดว่ากัญชาสีสันฉูดฉาดพวกนี้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแถมยังเป็นอาหารตาชั้นดีอีกด้วย

เรื่องกัญชาน่ารู้

ข่าวสารและอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก Herb


ภาพหน้าปกดัดแปลงจาก: Herb, Kyle Glenn และ Pim Chu

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราสามารถคอมเม้นต์ข้างล่างหรือทักไปที่ Facebook ของเราได้เลย

One thought on “‘สีของดอกกัญชา’ เกิดจากอะไร และจะเร่งให้สดได้ด้วยวิธีใดบ้าง

  1. มะสายดี พูดว่า:

    กัญชาช่วยแรงดันกระตุ้นอวัยวะต่อคนในร่างกายของมนุษย ครับ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *