ข่าวสาร, เทคนิคการปลูก

วิธีเลือกซื้อไฟปลูกต้นไม้ แบบละเอียด! 🌿☀️| LED Grow Lights Buying Guide 2020

og post growlight 1 2000x1050 1

สวัสดีครับ พี่หมีเชื่อว่าทุกๆคนคงจะปวดหัวแน่ๆครับ เพราะก่อนที่เราจะปลูกกัญชาเราจะต้องเตรียมตัวกันเยอะมากๆ ทั้งองค์ความรู้เกี่ยวกับต้นกัญชา ว่าเราจะปลูกทรงไหน เทรนยังไง เตรียมวิธีการปลูกยังไง และการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับต้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ในบทความนี้พี่หมีจะเน้นไปที่ไฟปลูกเป็นหลัก ให้เข้าใจวิธีเลือกไฟปลูกต้นไม้ให้เข้าใจแบบ 100% ว่าแสงหรือไฟปลูกนั้นมีความสำคัญกับการปลูกกัญชามากๆ เรียกว่าแทบจะเป็นตัวกำหนดเลยว่าผลผลิตที่ได้จะได้ ปริมาณมากน้อยแค่ไหน คุณภาพแค่ไหน

แสงแดด VS ไฟปลูก

ยกตัวอย่างง่ายๆเลยนะครับ อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ช่วงต้นอ่อนของกัญชานั้น ก็จะตองการแสงน้อยมากๆหลอดไฟบ้าน T5 เอาลงมาใกล้ๆหน่อยก็เลี้ยงต้นอ่อนได้สบายๆ และแทบจะไม่ต้องการสารอาหารเสริมใดๆเลย เทียบกับช่วงทำดอกของต้นกัญชาที่สามารถสังเคราะห์แสงได้มากถึง 2000 ppfd ในขณะที่แดดร้อนๆแบบบ้านเรากลางวันแสกๆแบบท้องฟ้าแจ่มใส มากสุดไม่เกิน 1400 ppfd และช่วงทำดอกก็ยังดูดซึมน้ำและสารอาหารเยอะมากๆในแต่ละวัน (ต้นกัญชาในกระถาง 5แกลลอนในช่วงทำดอกอาจจะต้องรดน้ำมากถึงวันละ 1.5ลิตรเลย)

ก่อนที่เราจะอธิบายเรื่องแสง พี่หมีอยากจะอธิบายก่อนว่า ไม่ว่าเราจะมีไฟเทพยังไง ถ้าเราไม่จัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับไฟเทพของเรา ไฟเทพก็จะเปลืองค่าไฟเปล่าๆเพราะต้นไม้ไม่สามารถดึงความเทพของไฟไปสังเคราะห์แสงได้ครับ

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราควรจัดสภาพแวดล้อมแบบไหน แล้วการให้แสงถึง 2000 ppfd มันจะคุ้มค่าไฟรึเปล่า? เราควรที่จะให้แสงสเปกตรัมแบบไหน? หรือแม้กระทั้งเมื่อเราให้ทุกอย่างเยอะ แต่ Co2 ไม่มากพอ ก็ไม่เกิดประโยชน์เสียพลังงานไปเปล่าๆ ทั้งหมดนี้นั้นคือขั้นตอนของการ optimize เพื่อที่เราจะได้ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรณ์ และจัดสรรทรัพยากรณ์ให้เหมาะสมกับการโตของกัญชาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตครับ

สิ่งที่เราควรจะคำนึงในการปลูกกัญชาหลักๆ ก็จะมีตามนี้ครับ

บริเวณเหนือราก

  • ความเข้มของแสง
  • ชั่วโมงของแสง
  • อุณหภูมิของอากาศ
  • ความชื้น
  • ลม
  • Co2

บริเวณราก (Root Zone)

  • อุณหภูมิบริเวณราก
  • สารอาหารที่จำเป็น
  • น้ำ
  • อ๊อกซิเจน
ตารางการให้แสงกัญชา 1
วิธีเลือกซื้อไฟปลูกต้นไม้ แบบละเอียด! 🌿☀️| LED Grow Lights Buying Guide 2020 22

ทั้งหมดในรายการด้านบน ถ้าส่วนในส่วนหนึ่งขาดไปหรือมากไป ต้นกัญชาของเราจะเกิดอาจจะเกิดปัญหาได้ครับ แต่ส่วนที่สำคัญสุดๆเลยก็เป็นแสงนั้นแหละครับ เพราะต้นไม้ทุกชนิดต้องการแสงในการสร้างพลังงานครับ

ทีนี้เรามาเข้าเรื่อง “แสง” กันครับ โดยปกติแล้วบางท่านอาจจะคุ้นชินกับไฟแสงสีม่วง ที่ทำมาจากสีฟ้าและสีแดง แต่จริงๆแล้วปัจุบันมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับแสงสีเขียวก็มีผลต่อการสังเคราะห์แสงสูงกว่า 20% ทำให้เมื่อเรารวมสีเขียวเข้าไปในไฟสีน้ำเงินและแดง เราจะแสงสีขาวออกมา ดูเหมือนธรรมชาติและสบายตากว่าไฟสีม่วงมากครับ

sunlight spectrum 1

Spectrum ของไฟปลูก

Photosynthetic light response curves 1 1
ตาคนมองเห็นแค่โซน Lumens

สเปกตรัมของไฟปลูกคือกราฟที่บอกเราว่าในแสงของไฟปลูกเรา มี “คลื่นแสงสี” อะไรอยู่บ้าง (ดูภาพประกอบด้านล่าง) ซึ่งคลื่นแสงในแต่ละสีก็จะมีความยาวคลื่นที่แตกต่างกันไป แต่ต้นไม้นั้นจะสังเคราะแสงหรือตอบสนองได้ดีในช่วงที่เรียกว่า PAR หรือ PPF เราจะวัดกันตั้งแต่ 400 นาโนเมตร จนถึง 700 นาโนเมตรครับ

แสงสีขาว

qb288

ในไฟปลูก LED ปัจุบันจะมีการผสมระหว่าง LED แสงสีขาว แบบ Blue Phosphor เช่น Samsung LM301H, LM301B ที่ให้แสงเป็นอุณหภูมิตาม Kelvin 2700K-6500K และ LED แบบ Direct ที่ปล่อยแสงออกมาเป็นสีเดียวโดดๆเช่น สีแดง สีน้ำเงิน หรือ UV ครับ

Kalvin Color
content dam leds printarticles volume 12 issue 10 1510leds f6f1

สำหรับการปลูกกัญชาด้วยไฟแสงสีขาว เราจะนิยมใช้แสงสีขาวอมเหลือง หรือ WarmWhite หรือ 3000K ถึง 3500K ตั้งแต่ 80CRI จะมีปริมาณสีแดง:เขียว:น้ำเงิน อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม ปลูกได้แต่ตั้งแต่ทำใบจนถึงทำดอกเลยครับ

ในขณะเดียวกันถ้าเราจะทำห้องทำใบ หรือห้องเลี้ยงต้นอ่อน เราก็จะใช้แสง 4000K หรือ 6500K เพื่อให้ได้ปริมาณแสงสีน้ำเงินที่มากขึ้น ช่วยให้ต้นได้โตได้คุ้มค่าไฟมากขึ้นครับ

หรือถ้าใครอยากจะใช้แสง 2000K ถึง 2700K เพื่อเน้นเฉพาะช่วงทำดอก แบบนี้ก็ได้เช่นกันครับ สีแดงเบิ้มๆไปเลย

58890842 2250931115014565 3829301689022676992 o

CRI หรือ Color Render Inder ปกติจะใช้ในวงการไฟช่างภาพเพื่อให้ถ่าย สินค้าออกมาสีสันสมจริง ในขณะที่แสงอาทิตย์คือ CRI = 100 แต่การที่ CRI สูง นั้นหมายความว่าสเปกตรัมแสงนั้นถูกเลื่อนจากสีเขียวไปเป็นสีแดงมากขึ้น ทำให้แสงออกมาสีไม่อมเขียวแล้วถ่ายรูปสวย แต่นั้นแหละครับ เมื่อสีเขียวถูกเลื่อนไปเป็นสีแดงที่มากขึ้น มันก็เหมาะเจาะกับการปลูกต้นไม้ในช่วงทำดอกมากขึ้นด้วยครับ

หลายๆคนอาจจะคิดว่า เฮ้ย พี่หมีทำไมไม่ใส่ CRI 97 หรือ CRI 99 ไปเลยจะได้สีแดงแบบโบ้มๆไปเลย แหม่ต้องตอบแบบนี้ครับ เหตุผลที่เค้าเรียกชิปแสงสีขาวว่า Blue Phosphor เพราะว่าแท้จริงแล้วมันเป็นชิปสีน้ำเงินแต่ถูกเคลือบไว้ทำให้สีที่ออกมาถูกเลื่อนไปเป็นสีแดงหรือโทนอื่นๆแทน แปลว่า เมื่อเราทำให้แสงมันเปลี่ยนจากสีน้ำเงินไปเป็นสีแดงมากเท่าไหร่ ความคุ้มค่าของชิปมันก็จะน้อยลงไปด้วย ปัจุบัน 80CRI กำลังสวยครับ แต่เราก็สามารถเพิ่ม CRI โดยที่ทำให้ไม่เสียความคุ้มค่าไปคือการเพิ่มชิปสีแดงล้วนเข้าไปเติมเต็มในสเปกตรัมของแสงครับ

HTB1rAGmbkT2gK0jSZFkq6AIQFXaY

แสงสีอื่นๆที่ใช้เติมในแสงสีขาว

unnamed 1
sunstrip

ไฟด้านบนคือ BearLED Sun+Strip R สำหรับช่วงทำใบและทำดอก Samsung LM301H + Osram Square Gen3 660nm

และ BearLED Sun+Strip B สำหรับทำใบ Samsung LM301H + Osram SSL 470nm

Red 600nm ถึง Deep Red 660nm

นอกจากแสงที่ต้องเข้มและแรงมากๆในช่วงทำดอก สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คงจะเป็นสีในช่วงสีแดงไปจนถึง infrared ตั้งแต่ 600nm – 1000mm เพื่อช่วยกระตุ้นในการสร้างดอกที่มีคุณภาพ โดยสีแดงที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่วงประมาณ 660nm หรืออีกชื่อนึงคือ Deep Red, Photo Red

Far Red 730nm มีน้อยๆ ประมาณ 5เปอร์เซ็น จะดีกว่าไม่มีมากๆ

ปกติแล้วตาคนเราจะมองไม่เห็นแสง Far Red แต่ Far Red นั้นเกิดขึ้นในธรรมชาติเป็นประจำอยู่แล้วครับ เช่นแสงตอนช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน ช่วงโพล้เพล้ จะมี Far Red มากเป็นพิเศษ ต้นไม้ก็รู้ว่าเตรียมเข้านอน เป็นเหมือนนาฬิกาบอกเวลาให้ต้นไม้ไปในตัว รวมถึงในป่าที่มีต้นไม้อยู่หนาแน่น แสงสี Far Red จะเกิดจากแสงที่ไปกระทบใบไม้ข้างๆรอบๆบริเวณต้นครับ

Figure 3

Royal Blue หรือ Deep Blue 450nm

ตรงนี้พี่หมีไม่ค่อยมีปัญหาเพราะส่วนมากจะเพียงพออยู่แล้วในแสงสีขาวครับ แสงสีน้ำเงินนั้นมีความจำเป็นมากพอๆกับสีแดง นอกจากจะเด่นในช่วงทำใบแล้ว ในช่วงทำดอกยังจะช่วยเร่งให้ดอกสุกได้เร็วขึ้นด้วยครับ แต่ต้นใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าสีแดงมากๆครับ

UV-A ถึง UV-B

ในหลายๆงานวิจัยจะบอกไว้ว่า UV-A ช่วยทำให้ใบแข็งแรงขึ้นเล็กน้อย
ส่วนใครที่อยากได้ UV เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมัน Cannabinoid ควรใช้ UV-B แบบแรงๆเปิดหลังจากที่ปิดไฟในช่วงทำดอกแล้วระยะเวลาแล้วแต่เทคนิคครับ แน่นอนว่าช่วยเพิ่มปริมาณ Cannabinoid ได้และยังช่วยลด เชื้อรา ไล่แมลงได้ แต่ก็ไม่ค่อยจะคุ้มกับเงินลงทุนและอายุการใช้งานของหลอด UV ที่ส่วนมากจะเสื่อมสภาพภายใน 1-2 ปีครับ และถ้าอยากจะลดเชื้อราใช้พวก เครื่องกรองอากาศ UV จะเหมาะสมกว่าครับ

Spectrum ไฟปลูกกัญชาจาก BearLED

ในรูปนี้เป็นตัวอย่างของไฟปลูก BearLED Utmost รุ่นยอดฮิตตลอดกาล พี่หมีใช้ชิป
Samsung LM301B 3000K 80CRI และ 4000K 80CRI รวมกัน
และเสริมทัพด้วย Osram Square Gen3 660nm
สี Deep Red ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดตอนนี้

PRO utmost v2 1

ตัวอย่าง Spectrum แสงจากหลอดประเภทต่างๆ

Spectral outputs of the various light sources
ตัวอย่าง Spectrum ของไฟปลูกในแบบต่างๆ

PPF vs PPFD

  • PPF หรือ photosynthetic photon flux คือปริมาณแสงตั้งแต่ 400nm-700nm วัดเป็นหน่วยที่เล็กมากๆระดับ ไมโครโมล (μmol) หรือ µmols/วินาที
  • BPF (280nm ถึง 800nm) ปรับปรุงจาก PPF เพื่อให้วัดแสงได้กว้างขึ้น
  • PPFD หรือ μmol/m2/s ต่อยอดมาจาก PPF คือการวัดว่าใน 1วินาที จะมีปริมาณแสงที่ต้นไม้สังเคราะได้ ในพื้นที่ 1×1 เมตร เป็นปริมาณเท่าไหร่ ส่วนมากจะวัดตรงที่ยอดของต้นว่าได้รับแสงปริมาณเท่าไหร่
ppf vs ppfd
photosynthetic photon flux density ppfd

Note ในยุคใหม่ แสงช่วง Far Red หรือ 730nm หรือ UV-B 280-315m นั้นมีบทบาทมากทำให้คนเริ่มเปลี่ยนมาวัดด้วย BPF 280nm ถึง 800nm แทน PPF ที่จำกัดถึงแค่ 400nm ถึง 700nm ครับ

Note เครื่องมือในการวัด PPFD, PPF นั้นมีราคาแพง เรามารถดูค่าหยาบๆผ่านความสว่างที่ตาเรามองเห็นได้เช่น Lux Meter ครับ

ตัวอย่างเครื่องมือวัด PPFD ที่พี่หมีแนะนำครับ Apogee MQ500

ไฟปลูกนั้นเปรียบเสมือนกับเครื่องยนต์

แน่นอนครับยิ่งไฟกำลังวัตต์สูง ก็เหมือนกับเรามีเครื่องยนต์แรงม้าเยอะ ถ้าเราใช้เครื่องยนต์ใหญ่ ส่วนประกอบอื่นๆของรถเราก็ต้องดีตามไปด้วย เช่น เบรก ยาง ก็ต้องดีด้วย

เพื่อให้เห็นภาพอีกนิดนึงลองนึกภาพตามนะครับ สมมุติเรามีเครื่องยนต์ 480แรงม้า หรือพี่หมีเทียบแบบง่ายๆเลย 480แรงม้า = ไฟ 480w

เครื่องยนต์ 480แรงม้า อยู่ในรถสองที่นั่งคันเล็กๆ มันก็ต้องโคตรแรง เหมือนกับเราใช้ไฟ 480วัตต์ ในเต็นท์เล็กๆเช่น 80×80ซม หรือ 100×100ซม

ตรงกันข้ามกัน ถ้าเราใช้ไฟปลูก 480วัตต์ ในเต็นท์ 120×120ซม ก็จะเป็นขนาดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ เอ้ยไฟปลูก แต่ถ้าเราเอาไปใช้ในเต็นท์ปลูกขนาด 150×150ซม ต้นไม้ก็ยังโต แต่จะผลผลิตจะได้ไม่เต็มประสิทธิภาพครับแต่ถ้ามองในแง่ความคุ้มค่า เช่นปลูกได้พื้นที่เยอะกว่า มันก็คุ้มกว่า เหมือนเราเอาเครื่องยนต์ไปใส่รถเมล์ครับ

ปริมาณแสงที่ต้นไม้สังเคราะห์ได้ Pn umol

ในต้นกัญชานั้นเปรียบเสมือนกับ Supercar ในวงการต้นไม้เลย

นั้นก็เป็นเหตุผลเลยที่ทำไมไฟปลูกกัญชาราคาถึงค่อนค้างสูง แต่ประสิทธิภาพก็สูงตาม และสว่างแรงมากๆ ก็เพราะว่าเรามี Supercar อยู่ในกระถางต้นไม้ !

ต้นกัญชานั้นมีความสามารถที่จะสังเคราะห์แสงได้มากกว่า 2000 PPFD และแน่นอนครับอย่างที่กล่าวไป ปริมาณสารอาหารในดิน, น้ำ, Co2 ต่างๆก็ต้องสูงมากด้วยเช่นกันถ้าเราต้องการให้ต้นเรารับแสงได้เต็มประสิทธิภาพ 2000 PPFD

ปริมาณแสงที่ต้นไม้สังเคราะห์ได้2

แต่ในความเป็นจริงแสงระดับ 2000PPFD นั้นเยอะเกินไปมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ (แทบจะสองเท่าของแดดประเทศไทย) และ ที่สำคัญผลผลิตไม่ได้เป็นสองเท่าของการให้แสง 1000PPFD เพราะฉนันแล้ว…

จุด optimize หรือจุดที่ให้ผลผลิตคุ้มต่อค่าไฟมากที่สุด จะอยู่ที่ประมาณ 600-750PPFD ครับ (แต่ถ้าอยากได้ดอกแน่นๆสวยๆต้องอัดแสงไปประมาณ 900-1100PPFD )

โดยปกติแล้วผลผลิตอย่างต่ำๆต้องได้ 1กรัมดอกแห้งหลังทริม ต่อ ไฟ 1 วัตต์ ถ้าต่ำกว่านี้ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานครับ ใครทำได้ถึง 2กรัมต่อ 1 วัตต์ ถือว่าระดับเซียนแล้ว

การประหยัดพลังงาน

ประเด็นนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญเลย นั้นคือการประหยัดพลังงาน เปรียบเทียบง่ายๆกับรถอีกแล้ว เหมือนกันเลยครับ เวลาเราจะดูว่าเราประหยัดแค่ไหน เราก็จะดูที่ รถขับได้กี่กิโลเมตร ต่อ น้ำมัน 1ลิตร หรือ km/l

แต่พอเป็นไฟปลูก เราจะดู PPF/watt หรือ μmol/j,
หรือดูแบบหยาบๆ lumen/watt ก็พอได้ครับ

โดยไฟ LED ตามบ้านทั่วๆไปที่ประสิทธิภาพดีๆหน่อยจะอยู่ที่ประมาณ 110lumen/watt หรือราวๆ 1.5-1.6 μmol/j

แต่สำหรับไฟปลูกที่ประสิทธิภาพดีๆ จะทำงานได้คุ้มค่าไฟมากครับ จะอยู่ที่ประมาณ 2.4-2.6 μmol/j หรือประมาณ 160-170 lumen/watt เลยทีเดียว เทคโนโลยีล้ำหน้ากว่า LED บ้านๆทั่วไปมากครับ

และแน่นอนครับ ไฟจากพี่หมีประสิทธิภาพสูงสุดจาก BearLED เราทำได้ที่ 3.0 μmol/j ในรุ่น Sun+Strip ล่าสุดครับ

Note ปริมาณชิป และคุณภาพขอชิป บนไฟปลูก รวมถึง Driverหรือตัวขับไฟที่คุณภาพดี จะสัมพันกับความคุ้มค่าของไฟที่ทำได้ครับ เช่น LM301H 288 ชิป 50w มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า LM301H 288 ชิป 120w แต่ 120w ก็จะได้ผลผลิตมากกว่าแบบแน่นอน แบบนี้น่าเลือก 120w มากกว่าครับ

Note สามารถคำนวณค่าไฟจากไฟปลูกได้จากที่นี้เลยครับ

DLI หรือ Daily Light Integral

คือการวัดว่าต้นไม้ได้รับ PPF เท่าไหร่ใน 1 วัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เราจินตนาการว่าแสงที่ตกลงมาจากไฟปลูกเป็นเหมือนน้ำฝน PPF = น้ำฝน แล้วเราต้องการที่จะรู้ว่าใน 1วัน ฝนมันตกลงมาแค่ไหน วิธีการก็คือเราต้องเอากะลามังไปตวงน้ำฝน… DLI ก็เหมือนกันเลยครับ เพื่อจะเช็คว่าต้นไม้เราได้รับแสง หรือ PPF เพียงพอใน 1วัน แต่มันไม่ค่อยจำเป็นเพราะว่าเมื่อเรารู้ PPFD และชั่วโมงการให้แสงที่เหมาะสมแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวัด DLI ซักเท่าไหร่ครับ พี่หมีมีตัวอย่างวิธีคำนวณให้ด้านล่างนี้ เดียวจะเพิ่มลิงค์คำนวณแบบง่ายๆให้ครับ

moles per day
วิธีเลือกซื้อไฟปลูกต้นไม้ แบบละเอียด! 🌿☀️| LED Grow Lights Buying Guide 2020 23
ปริมาณแสงที่ต้นไม้ต้องการต่อวัน DLI
วิธีเลือกซื้อไฟปลูกต้นไม้ แบบละเอียด! 🌿☀️| LED Grow Lights Buying Guide 2020 24

พี่หมีหวังว่าบทความนี้น่าจะมีประโยนช์กับนักปลูกชาวไทยบ้าง ความรู้เรื่องไฟปลูกพวกนี้รู้ครั้งเดียวติดตัวเราตลอดไปเราจะได้มั่นใจมากขึ้นในการปลูกว่าเราให้แสงอย่างถูกต้องและเหมาะสมครับ สำหรับเทคนิคและวิธีการปลูกอื่นๆติดตามได้ในเว็บ หรือในเพจ Facebook ของเราได้เลยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *