กัญชาน่ารู้, ข่าวสาร

กัญชาถูกกฎหมาย? จาก “ยาเสพติดร้ายแรง” สู่ “ยารักษาโรค” – โลกจะเดินไปทางไหนเมื่อยูเอ็นเปลี่ยนสถานะสมุนไพรสายเขียว

กัญชาถูกกฎหมาย UN ยูเอ็น 3

จดหมายจากพี่หมี: อย่าลืมกดแชร์บทความให้เพื่อนที่สนใจเรื่องราวของกัญชาอ่านกันต่อด้วยนะครับ


การเปลี่ยนแปลง ≠ ทำให้กัญชาถูกกฎหมาย


ย้อนไปเมื่อ 59 ปีที่แล้ว “กัญชา” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ถูกคณะกรรมาธิการยาเสพติด (CND) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายกลางของระบบควบคุมยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเองจัดอยู่ในรายการยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4 ในอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) 

บัญชียาเสพติดประเภทที่ 4 นี้เป็นบัญชียาที่ให้โทษรุนแรงซึ่งมีเฮโรอีน มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคนรวมอยู่ด้วย

กัญชาถูกกฎหมาย UN ยูเอ็น 4

ก้าวแรกที่สำคัญทาง “กฎหมาย” ของกัญชา

ภาพ: Hypebeast

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเวียนนา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตัวแทนจาก 53 รัฐสมาชิกของหน่วยงานกำหนดนโยบายควบคุมยาเสพติดแห่งองค์การสหประชาชาติได้ลงมติจัดหมวดหมู่ใหม่ให้พืชกัญชา โดยนำออกจากรายการยาเสพติดให้โทษมาเป็นยารักษาโรคแทน มีเสียงเห็นชอบ 27 เสียง ต่อต้าน 25 เสียง และไม่ได้เข้าร่วมการลงมติ 1 เสียง พี่หมีและเดอะแก๊งดีใจเป็นอย่างมาก – และเชื่อว่าผู้อ่านหลาย ๆ คนคงรู้สึกเหมือนเรา 🙂

แต่เดี๋ยวก่อน การลงมติขององค์การสหประชาชาติไม่มีผลให้กัญชาถูกกฎหมาย (Legalise) หรือไม่ทำให้ผิดกฎหมาย (Decriminalise)  แต่เป็นการประกาศแนวทางให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเลือกนำไปพิจารณาประกอบการแก้ข้อกฎหมายของตัวเองต่อไป


พิจารณาจากคำแนะนำของ WHO


กัญชาถูกกฎหมาย UN ยูเอ็น 1

ภาพ: Herb

การวางแผนลงมติเปลี่ยนหมวดหมู่กัญชาขององค์การสหประชาชาติไม่นับว่าเป็นเรื่องที่เซอร์ไพรส์เท่าไหร่ในสายตาของผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกัญชา โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าการลงมติดังกล่าวเป็นผลมาจากที่องค์การอนามัยโลกออก (WHO) มาให้คำแนะนำในปี 2019 ว่า

“พืชวงศ์กัญชาและผลิตภัณฑ์ควรได้รับการจัดประเภทให้อยู่ให้ระดับการควบคุมเพื่อไม่ให้ถูกใช้จนเกิดอันตราย แต่ [การควบคุม] ไม่ควรถูกใช้อ้างไม่ให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางด้านการแพทย์”

พี่หมีคิดว่าที่รอยเตอร์รายงานก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่มองกลับไปจะพบว่าวงการแพทย์ในหลายประเทศให้ความสนใจในพืชวงศ์กัญชาเป็นอย่างมากมาหลายปีแล้ว แม้แต่ในบ้านของเราเองก็ตามก่อนหน้าที่องค์การอนามัยโลกจะออกมาด้วยซ้ำ


อนาคตกัญชาในไทย (ในสายตาพี่หมี)


หลังจากพี่หมีวิเคราะห์ข่าวที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาประกาศอนุญาตให้ประชาชนปลูกกัญชาได้ โดยมีข้อแม้ที่ว่าต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ และที่สำคัญต้องได้รับใบอนุญาตปลูกจากรัฐ พี่เชื่อว่ายังไงกัญชาก็จะถูกทำให้ถูกกฎหมายแน่นอน และอาจจะถึงขั้นที่เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปด้วยซ้ำ ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นกอบเป็นกำผ่านการเก็บภาษีและการส่งออก

กัญชาถูกกฎหมาย UN ยูเอ็น 2

อินโฟกราฟฟิคจากปี 2018 (พ.ศ. 2561)

ที่มา: Billion Mindset

แต่เมื่อพี่หมีหันไปมองชะตากรรมของนักทำคราฟท์เบียร์ของบ้านเราแล้ว ใจที่พองโตกับภาพที่สวยงามของอนาคตก็มีอันต้องแป้วลง เพราะมีแนวโน้มว่าสิทธิในการทำผลิตของใช้ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากต้นกัญชาทั้ง THC หรือ CBD จะถูกห้ามผลิตในครัวเรือน ตลอดจนการปลูกไว้เพื่อจุดประสงค์ทางการสันทนาการเองก็ตาม

กัญชาถูกกฎหมาย UN ยูเอ็น 5
กัญชาถูกกฎหมาย? จาก “ยาเสพติดร้ายแรง” สู่ “ยารักษาโรค” - โลกจะเดินไปทางไหนเมื่อยูเอ็นเปลี่ยนสถานะสมุนไพรสายเขียว 6

“ร้านขายยา” ในประเทศอุรุกวัย – ประเทศแรกของโลกที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเชิงสันทนาการโดยไม่ผิดกฎหมายในปี 2013 (พ.ศ. 2556)

ภาพ: Herb

ถ้าถามพี่หมีว่าอนาคตของโลกจะเป็นยังไงต่อไปถ้าเกิดว่ากัญชาจะกลายเป็นของถูกกฎหมายจริง ๆ ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ พี่หมีขอตอบว่าทิ้งความคิดว่าทุกคนจะไฮพร้อมกันจนเสียการเสียงานเศรษฐกิจโลกล่มสลาย เพราะการมีอยู่ของสุราและยาสูบที่ได้รับการยกเว้นมาก่อนก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามนุษย์ส่วนใหญ่มีความยับยั้งชั่งใจทั้งเพื่อประโยชน์ของตัวเองและส่วนรวม

ในทางกลับกันประชาชนชาวไทยจะมียารักษาโรคชนิดใหม่ ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการหรือแม้กระทั่งป้องกันผู้คนจากโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งไปจนถึงเอชไอวีได้มีประสิทธิภาพกว่ายาในปัจจุบันด้วยซ้ำ 

ใครอ่านมาจนจบอาจจะรู้สึกว่าบทความนี้อาจจะยาวสักนิด แต่พี่หมีอยากให้ทุกคนร่วมวิเคราะห์อนาคตของสมุนไพรแสนรักไปพร้อม ๆ กัน ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ 

เรื่องกัญชาน่ารู้

ข่าวสารและอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก UN News | NPR | The New York Times 


ภาพหน้าปกดัดแปลงจาก: GETTY IMAGES
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราสามารถคอมเม้นต์ข้างล่างหรือทักไปที่ Facebook ของเราได้เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *