เทคนิคการปลูก

วิธีการผลัดใบ (Defoliation) ต้นกัญชาเพื่อเพิ่มผลิตผลแบบมือโปร

Head วิธีการผลัดใบ Defoliation ต้นกัญชาเพื่อเพิ่มผลิตผลแบบมือโปร

เทคนิคการปลูกกัญชา

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนเพื่อให้ความรู้กับคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศที่การปลูกกัญชาถูกกฎหมายแล้ว ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ผู้ใดทำผิดกฎหมาย อนึ่ง การผลัดใบ (Defoliation) ในบทความนี้สามารถนำไปปรับใช้กับพืชชนิดอื่นเพื่อเพิ่มผลผลิตได้

สวัสดีพี่ ๆ น้อง ๆ นักปลูกสายเขียวทุกคน วันนี้พี่หมีมีอีกหนึ่งเทคนิคการปลูกกัญชามาแนะนำทุกคนได้ทำความรู้จักและพิจารณานำไปใช้กันเพื่อเพิ่มผลผลิตนะครับ

วิธีการที่พี่หมีกำลังพูดถึงนี้คือวิธีการผลัดใบ (Defoliation) ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักปลูกชาวต่างชาติที่ต้องการเพิ่มผมผลิตให้ต้นกัญชาของตัวเอง นอกจากพี่หมีจะมาอธิบายถึงความหมายของวิธีการผลัดใบ (Defoliation) แล้วยังมีวิธีการลงมือทำ รวมถึงข้อดีข้อเสียแบบเข้าใจง่ายมาให้ทุกคนอ่านด้วย

ทำความเข้าใจการผลัดใบ (Defoliation)

1 1
วิธีการผลัดใบ (Defoliation) ต้นกัญชาเพื่อเพิ่มผลิตผลแบบมือโปร 7

ภาพ: High Times Magazine

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจเจ้าวิธีการผลัดใบ (Defoliation) นี้กันก่อนนะครับ วิธีการที่ว่านี้คือการถอนใบออกจากต้นกัญชาของเราด้วยความเชื่อที่ว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตของต้นกัญชาที่ปลูกในร่มได้ อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้ปลูกว่าสามารถให้ผลตามที่มีการเคลมได้จริงไหม

นักปลูกบางคนตั้งคำถามว่าทำไมต้องทำให้ต้นกัญชาเสียพลังงานในการผลิตใบใหม่ มีผู้อธิบายว่าใบของพืชมีไว้เก็บสารอาหารเผื่อยามฉุกเฉิน เช่นเมื่อฝนแล้ง ขาดสารอาหาร หรือถูกรุกรานโดยศัตรูพืช อย่างไรก็ตาม สำหรับต้นกัญชาที่ถูกปลูกภายใน หรือแบบ indoor โดยมีการให้แสงจากไฟปลูกที่คงที่ ตั้งอุณหภูมิและค่าความชื้นโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วนั้น ใบของมันอาจจะกลายเป็นภาระมากกว่าสิ่งดี (นึกภาพใบแน่นๆมาบั่งยอดหรือ nodes ไปหมด ทำให้ต้นไม่แตกยอดใหม่แต่ใบพวกนั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ)

ทำให้การถอนใบของต้นกัญชาออกด้วยวิธีการผลัดใบ (Defoliation) เป็นการช่วยปลดภาระให้กับต้นกัญชาของคุณ ทำให้มันมีพลังงานมากขึ้นและ แสงสามารถส่องลงไปได้ถึง โคนต้นหรือใบที่อยู่ด้านล่างของต้นที่ปกติแล้วจะโดนบังแสง ช่วยทำให้ต้นแตกยอดใหม่ได้เยอะขึ้น และนั้นช่วยทำให้ได้รับผลผลิตเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การผลัดใบยังช่วยให้อากาศถ่ายเทบริเวณลำต้น ที่สำคัญคือช่วยลดปัญหาที่มากับอุณหภูมิ/ความชื้นรวมไปถึงเชื้อราและแมลงศัตรูพืชซึ่งอาจจะทำให้ผลผลิตของเราลดลง

ข้อควรรู้: นักปลูกหลาย ๆ คนสับสนระหว่างวิธีการผลัดใบแบบ Defoliation และ Lollipoping ว่าเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้องเสียทีเดียว พี่หมีจะมาบอกความแตกต่างในบทความหน้าที่พูดถึงวิธีการผลัดใบแบบ Lollipoping นะครับ (Lollipoping ทำช่วงต้นทำดอกครับ)

ขั้นตอนการผลัดใบ (Defoliation)

image

ภาพ: Fast Buds

ทำตอนไหน?

ก่อนที่เราจะเริ่ม นักปลูกต้องทราบก่อนนะครับว่าช่วงที่เหมาะกับการผลัดใบ (Defoliation) มากที่สุดคือช่วงกำลังโตหรือช่วง Vegetative Stage การทำในช่วงนี้จะช่วยให้ผู้ปลูกสามารถควบคุมต้นกัญชาได้ดีกว่าช่วงอื่น ๆ (ควรทำเมื่อรากเต็มกระถางแล้ว ไม่ควรทำช่วงที่ย้ายกระถาง หรือช่วงที่ต้นอ่อนแอครับ)

ทำอย่างไร?

สำหรับนักผลัดใบมือใหม่ พี่หมีแนะนำให้ใช้กรรไกรธรรมดาที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยแอลกอฮอล์มาแล้วเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้มีความสกปรกที่อาจจะนำโรคมาได้ (อย่าลืมนะครับว่าต้นกัญชาช่วงนี้ยังเป็นเบเบี๋อยู่) จากนั้นค่อย ๆ ตัดใบออกครั้งละน้อย ๆ ควรเริ่มจากใบเลี้ยงที่อยู่ล่างสุดก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกัญชาเครียด โดยตัดที่ละ 5-10% ของใบในต้น ทุก ๆ 4 – 7 วัน (หรือหนึ่งอาทิตย์) จนกว่าจะพอใจ

2
วิธีการผลัดใบ (Defoliation) ต้นกัญชาเพื่อเพิ่มผลิตผลแบบมือโปร 8

ต้นกัญชาที่เพิ่งผ่านการผลัดใบ (Defoliation) ในช่วง Vegetative Stage (สัปดาห์ที่ 5)

ภาพ: KotiGrowers/Growdiaries

ตัดใบไหน?

พี่หมีแนะนำให้เริ่มจากใบเลี้ยง (Fan Leaf) ใบเลี้ยงสังเกตได้ง่ายๆจะเป็นใบที่ออกจากกิ่งเพียงใบเดียว ก้านใบสามารถยาวและใหญ่ได้มากๆ โดยเริ่มจากใบเลี้ยงที่อยู่ล่างสุดครับ

ใบเลี้ยง ต้นกัญชา

ตัดเยอะแค่ไหน?

พี่หมีอยากให้จำไว้ว่าจุดประสงค์ของการผลัดใบ (Defoliation) คือการต้นกัญชาได้รับอากาศและแสงเพิ่ม เพราะฉะนั้นพี่หมีไม่สามารถบอกได้ว่าทุกคนควรตัดใบออกเยอะแค่ไหน อย่างไรก็ตามควรโฟกัสตัดในจุดที่มีความหนาแน่นเป็นพิเศษ 

ข้อควรระวัง: ควรตัดเฉพาะใบเท่านั้น ไม่ควรตัดเลยไปถึงตาหรือ buds ของต้นเพราะอาจจะกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ และสำหรับมือใหม่ที่อยากตัดออกเยอะ ๆ พี่หมีขอเตือนไว้ก่อนว่าจะกระทบกับกระบวนการสังเคราะห์แสงแน่นอน และอาจจะได้ผลเสียมากกว่าผลดี

4
วิธีการผลัดใบ (Defoliation) ต้นกัญชาเพื่อเพิ่มผลิตผลแบบมือโปร 9

ต้นกัญชาที่ผ่านการผลัดใบ (Defoliation) ในสัปดาห์ที่ 10

ภาพ: KotiGrowers/Growdiaries

อย่ายุ่งกับช่อบนสุดและใบที่โตเต็มที่แล้ว

ระหว่างที่นักปลูกกำลังเล็งว่าจะเอาใบไหนออกนั้น พี่หมีแนะนำให้อย่าไปแตะต้องช่อใบอ่อนที่อยู่บนสุดของก้านและรวมถึงใบที่โตเต็มที่แล้ว ดังนั้นให้เล็งไปที่ใบที่ยังไม่โตเต็มวัยนะครับ

วิธีการผลัดใบ (Defoliation) ไม่ใช่สำหรับทุกคน

ก่อนที่นักปลูกคนใดจะเริ่มลงมือผลัดใบด้วยวิธีการนี้ พี่หมีอยากให้ทำความเข้าใจและยอมรับวิธีการนี้อาจจะไม่ใช่สำหรับทุกคน นักปลูกต้องแน่ใจก่อนว่าของคุณ

  • ต้องปลูกในร่มหรือ indoor โดยมีการควบคุ้มอุณหภูมิและความชื้นเป็นอย่างดี (พืชที่ปลูกภายนอกอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าเพราะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ศัตรูพืชและอุณหภูมิ
  • ไม่อยู่ในสภาวะโตช้า
  • ไม่มีโรคใดใดและอยู่ในสภาพแข็งแรงเต็ม 100%
  • ไม่ขาดสารอาหาร
  • อุณหภูมิในการปลูกไม่ร้อนเกินไป
  • แสงไฟที่สว่างเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

นอกจากข้อสังเกตเบื้องต้นเหล่านี้แล้ว การผลัดใบ (Defoliation) แบบผิด ๆ อาจจะทำให้ต้นกัญชาโตช้าลงและอาจจะทำให้ผลผลิตลดลงด้วยนะ พี่หมีไม่อยากให้ใครเสียใจ

ข้อดีและข้อเสีย

ภาพ: Zamnesia

พี่หมีได้รวบรวมทั้งข้อดีและข้อเสียของวิธีการผลัดใบมาให้อ่านกันเพื่อเป็นการช่วยทุกคนตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการนี้ในการเพิ่มผลผลิตดีหรือไม่ เรามาดูการดีกว่า

ข้อดี 

  • ทำให้อากาศและแสงเข้าถึงดอกได้มากขึ้น
  • ทำให้ดอกแน่นมากขึ้น
  • ทำให้มีผลผลิตมากขึ้น

ข้อเสีย

  • ทำให้ต้นกัญชาเกิดความเครียด
  • ทำให้บางคนพลาดโอกาสที่จะมีประสบการณ์การปลูกแบบปกติ

เทคนิคการปลูกกัญชาต้องควบคู่กับการดูแลที่ดี

นอกจากการมองหาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อนำมาเพิ่มผลผลิตแล้ว พี่มีแนะนำว่าเราไม่ควรละเลยที่จะเติมสารอาหารที่มีประโยชน์ด้วยปุ๋ยที่มีคุณภาพให้กับต้นไม้ของเราด้วย นอกจากนี้อย่าลืมควบคุมดูแลสภาพแวดล้อมในการปลูกให้เหมาะสมโดยการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อความแม่นยำและเป็นการแบ่งเบาภาระของเราไปในตัวอีกด้วย

เทคนิคการดูแลต้นกัญชาอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก GrowWeedEasy | Royal Queen Seeds | 2fast4buds | Zamnesia


ภาพหน้าปก: Zamnesia และ KotiGrowers (Growdiaries.com)

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราสามารถคอมเม้นต์ข้างล่างหรือทักไปที่ Facebook ของเราได้เลย

2 thoughts on “วิธีการผลัดใบ (Defoliation) ต้นกัญชาเพื่อเพิ่มผลิตผลแบบมือโปร

  1. เบญจมินทร์ ด้วงคำจันทร์ พูดว่า:

    ถ้าตัดไปครึ่งต้นจะตายมั้ยค่ะ

    1. พี่หมี Growstuff พูดว่า:

      ต้องเทียบปริมาณใบที่เหลือครับ เช่นถ้าต้นยังเล็ก มีใบแค่ 5คู่ ถ้าเราตัดไปครึุ่งนคง ต้นจะรอดยาก แต่ถ้าต้นสมบูรณ์สูงระดับนึง เราตัดไปครึ้งนึงต้นก็ยังมีพลังงานสังเคราะห์แสงได้ ก็จะไม่มีปัญหาครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *